ปวดกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายผิดท่า

ระวัง ปวดกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายผิดท่า สาเหตุที่ถูกมองข้าม เรื้อรังแล้วอันตราย

อาการปวดตึงซ่าๆ เริ่มมากขึ้นบริเวณสะบักขวา เคสจึงไปพบแพทย์ ได้ยาแก้ปลายประสาทอักเสบและยาคลายกล้ามเนื้อมาทาน แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น เคสได้ไปนวดรักษาที่สำนักแห่งหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงมาก คนที่นวดให้แจ้งเคสว่ากระดูกคอเคลื่อน เคสกลัวจึงกลับไปพบแพทย์อีกครั้งและขอเอ็กซ์เรย์กระดูกคอ แต่ก็ไม่พบความผิดปกติใดๆ

ปวดกล้ามเนื้ออักเสบ จากการออกกำลังกาย

ปวดกล้ามเนื้ออักเสบ จากการออกกำลังกาย ภัยเงียบกว่าที่คิด เพราะอะไร

ปวดกล้ามเนื้ออักเสบ จากการออกกำลังกาย ภัยเงียบกว่าที่คิด สาเหตุเพราะอะไร นี่คือหนึ่งในภัยเงียบที่อาจจะทำให้เราเจ็บป่วยและปวดกล่ามเนื้อเรื้อรังอย่างคาดไม่ถึงค่ะ ทุกปีใหม่เมื่อผ่านพ้นไปหนึ่งปี ตัวเลขอายุของเราเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันอายุขัยของเราจะเริ่มลดลง ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่คอยเตือนใจเราว่า ในปีที่ผ่านมาๆ มีอะไรบ้างที่เราได้ทำแล้ว และอะไรที่ยังไม่ได้ลงมือทำ ถือเป็นสิ่งดีสำหรับหลายท่านที่นิยมเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ดีๆ ให้เป็นของขวัญสำหรับตัวเอง เช่นเดียวกันกับหลายเคสที่ผู้เขียนได้พบ หลายคนตั้งใจว่าปีนี้ฉันจะเป็นคนใหม่ ตื่นเช้ามาออกกำลังกาย นอนไว ทานแต่สิ่งดีมีประโยชน์ ฯลฯ แต่หลายเคสที่มาหาผู้เขียนก็ตระหนักไม่ได้ถึงภาวะร่างกายตนว่าเหมาะสมมากน้อยเพียงใด จึงออกกำลังกายหักโหมเกินกำลัง จนเกิดอาการบาดเจ็บ และยังฝืนเล่น จนความเจ็บปวดเรื้อรังถึงขั้นกล้ามเนื้อฉีก และเกร็งตัวค้างไปซะอย่างนั้น กลายเป็นโทษต่อร่างกายที่น่ากลัวมากค่ะ  สำหรับเคสที่พบบ่อย (ก่อนหน้าการกักตัวจากโควิด-19) คือกลุ่มคนที่มีความตั้งใจสูง อยากจะออกกำลังกาย แล้วก็พาตัวเองกระโจนเข้ายิม เล่นเครื่อง ใช้น้ำหนักหักโหม โดยไม่เคยรู้จักกล้ามเนื้อ ไม่เคยตรวจโครงสร้างร่างกาย ไม่เคยรู้ศักยภาพการใช้งานของกล้ามเนื้อตัวเอง ไม่ได้เตรียมร่างกายทั้งก่อนและหลังเล่น โดดไปเล่นทั้งกล้ามท้อง หลัง ขา หน้าอก แขน ฯลฯ แล้วเล่นแบบต้องเจ็บตัวไปตามๆกันเลยค่ะ อาการของเคสหลายท่านที่มามีอาการคล้ายๆ กัน จึงขอสรุปรวมดังนี้ค่ะ ปวดกล้ามเนื้ออักเสบ จากการออกกำลังกาย คืออะไร ที่ผ่านมาเราได้พบเคสน่าสนใจที่มาตรวจพร้อมด้วยอาการปวดบริเวณ กล้ามหน้าท้อง เจ็บชายโครง…

ปวดจากกระดูกคด

ปวดจากกระดูกคด ภัยเงียบในร่างกาย ที่อาจทำให้ปวดคอ เอว หลัง สะโพก ชาแขนขา

เคสนี้มีอาการปวดศีรษะด้านขวา ปวดเข้ากระบอกตาขวา บางทีรู้สึกตาหนักมาก ปวดไล่มาตามก้านคอ ลงสะบัก ทำให้หายใจสั้นๆ ถี่ๆ หายใจไม่อิ่ม ปวดบั้นเอวตรงหลังต่อกับเชิงกรานด้านขวา ร้าวลงก้นและร้าวลงด้านข้างของขาด้านขวา อ้อมไปด้านหลังเข่า จนถึงน่อง มีอาการเข่าอ่อนแรง และชาปลายเท้าเป็นบางครั้ง

ปวดคอ บ่า สะบัก ปวดร้าวชาลงแขน

ปวดคอ บ่า สะบัก ปวดร้าวชาลงแขน เกิดจากอะไร

ปวดคอ บ่า สะบัก ปวดร้าวชาลงแขน เกิดจากอะไร หากไม่คอยดูแล สำรวจอาการเหล่านี้ให้ดี มันอาจกลายเป็นภัยเงียบและอันตรายเรื้อรังต่อร่างกายอย่างคาดไม่ถึงเลยค่ะ ดังนั้นวันนี้เรามารู้จักอาการปวดคอ บ่า สะบัก ร่วมกับอาการร้าวลงแขน ชามือ มืออ่อนแรงว่ามาจากสาเหตุใด เพื่ออย่างน้อยที่สุดเวลาที่ท่านมีอาการปวด ชา หรืออาการอ่อนแรง จะได้พิจารณาตัวเองว่าควรจะรักษาเช่นไรให้ถูกทาง ปวดคอ บ่า สาเหตุจากอะไร สำหรับอาการดังกล่าว เราต้องทราบถึงสาเหตุหรือที่มาของอาการ รวมถึงเข้าใจลักษณะของร่างกายเราก่อน เนื่องจากว่าตรงบริเวณ คอ บ่า สะบัก และแขนของเรานั้น มีสิ่งใดที่เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกันอยู่ ซึ่งตรงนี้เชื่อว่าหลายคนทราบดีอยู่แล้วว่าคอของคนเรานั้น เป็นบริเวณที่ควรมีการระมัดระวังอย่างยิ่งยวดเนื่องจากเป็นส่วนของร่างกายที่รวมเส้นประสาทเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองแล้ว ยังมีส่วนที่โยงยาวไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและข้อต่อตลอดสะบักและแขน ทั้งยังช่วยในการนำคำสั่งจากสมองเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว(motor nerves ) เป็นส่วนที่นำคำสั่งสู่สมองให้ได้รับรู้ความรู้สึกเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ต่างๆด้วย (sensory nerves) ตลอดเส้นทางผ่านของเส้นประสาทนั้นยังมีกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ และข้อศอก ที่เป็นทางลอดผ่านของเส้นประสาทเหล่านี้ หากกล้ามเนื้อมัดเหล่านี้มีปัญหาก็เป็นเหตุให้เกิดอาการดังที่กล่าวข้างต้นได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเวลามีอาการปวดหรือชา เรามักเหมารวมว่าอาจจะเป็นคอเสื่อม มีกระดูกงอก ทำให้มีอาการปวดคอร้าวลงแขน ทำให้มือชา แต่ความเป็นจริงแล้วอาการที่ดูคล้ายกัน ในทางคลินิกเฉพาะทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อนั้น มีวิธีทดสอบเพื่อเป็นการยืนยันว่าอาการที่เป็นนั้นมีสาเหตุมาจากส่วนใด…

ปวดหัว ปวดบ่า ปวดคอ คอเสื่อม ปวดร้าวขึ้นศีรษะเหมือนเป็นปวดไมเกรน

จากสถิติท่านที่เดินมาหาเรา Ariya Wellness Center มากกว่าครึ่งมาด้วยอาการปวดหัว ปวดคอ ปวดร้าวขึ้นศีรษะเหมือนเป็นไมเกรน อยากทราบไหมคะว่าท่านที่มานั้นมาด้วยอาการอย่างไรบ้าง แล้วท่านผู้อ่านเองเคยมีอาการเช่นนี้หรือไม่

ปวดเข่า เสียวในหัวเข่า สาเหตุ อาการ

ปวดเข่า เสียวในข้อเข่า สาเหตุจากอะไร อาการเป็นอย่างไร ควรระวังอะไร

ปวดเข่า เสียวในหัวเข่า สาเหตุเกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร ต้องระวังก่อนที่อาการจะเรื้อรังจนสายเกินไป สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน รอบนี้เรามีเรื่องเล่าจากอาการของคนไข้หลายท่านที่มาด้วยความกังวลจากอาการปวดเข่า ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าเมื่อปวดเข่าก็คือเข่าเสื่อมทั้งหมด แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้นค่ะ อาการปวดเข่าไม่จำเป็นต้องเป็นเข่าเสื่อมเสมอไปและไม่ได้เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น ในวัยกลางคนหรือนักกีฬาและผู้ที่บาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ก็อาจเกิดอาการปวดเข่าได้เช่นกัน โดยจุดเริ่มต้นของอาการอาจเริ่มจากปวดหลัง ปวดก้น และลุกลามจนทำให้เกิดอาการปวดเสียวที่เข่า อาการปวดเข่าเช่นนี้ เกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือกล้ามเนื้อสะโพกทำงานไม่สมดุล ดังนั้นเราจึงควรมาทำความรู้จักอาการปวดเข่าในแบบต่างๆ ว่ามีอาการแตกต่างกันอย่างไร เพื่อจะได้หาทางแก้ไขให้ถูกต้นตอของปัญหา จึงขออธิบายอาการปวดเข่า เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทำความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้นค่ะ อาการปวดเข่า  หลายท่านมักเข้าใจว่าเมื่อมีอาการปวดเข่าก็เหมารวมว่าเป็นเข่าเสื่อมทั้งหมด แต่แท้จริงแล้วอาการปวดเข่าจากภาวะที่กล้ามเนื้อทำงานไม่สมดุลกันก็มี เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อตึงตัวมากเกินไป ลักษณะของอาการปวดแต่ละแบบนั้น มีความแตกต่างกันอยู่ดังนี้นะคะ เข่าเสื่อม อาการเข่าเสื่อมมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงวัยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่พบในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก มีหน้าท้องยื่น ใช้งานเข่าหนัก เช่นเดินมากมาก่อน ใส่ส้นสูงมาก่อน เข่าเคยกระแทกหรือมีอุบัติที่เข่ามาก่อน ฯลฯ ลักษณะอาการที่แสดงว่าเป็นโรคเข่าเสื่อมได้อย่างชัดเจน มาลองดูกันว่ามีลักษณะอาการแบบใดที่แสดงว่าเราอาจเป็นโรคเข่าเสื่อมอย่างชัดเจนกันบ้าง ที่พบบ่อย ได้แก่ มีอาการปวดเข่า โดยปกติจะปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว หรือมีการเดินลงน้ำหนัก แต่เมื่อพักจะดีขึ้น หากเป็นมากจะปวดตลอดเวลา ข้อติดแข็ง ส่วนมากจะพบในตอนเช้าเมื่อตื่นนอนใหม่ๆ หรือเมื่ออยู่ในท่าทางใดท่าทางหนึ่งนานๆ ต่อเนื่องโดยไม่ได้ขยับ มีการบวมรอบข้อเข่า…

ปวดไหล่ ปวดล้า ร้าวลงแขน ขัดๆ เสียวในหัวไหล่ ยกแขนไม่ขึ้น สาเหตุมักมาจากเรื่องใกล้ตัว

ปวดไหล่ ปวดล้า ร้าวลงแขน ขัดและเสียวในหัวไหล่ ยกแขนแล้วปวดร้าวทั้งแขน เคยมีอาการแบบนี้กันบ้างหรือไม่ แล้วทราบหรือไม่คะว่าสาเหตุเกิดจากอะไร สำหรับวันนี้ เรามีเรื่องเล่าจากคนไข้มาเล่าให้ท่านฟังกันค่ะ ตัวผู้เขียนเองก็ไม่แน่ใจว่าเป็นความบังเอิญหรือเปล่าที่ช่วงนี้คนไข้มักจะมาด้วยอาการดังกล่าวคือ อาการปวดไหล่ รู้สึกเสียวในหัวไหล่ ยกแขนแล้วปวดร้าวทั้งแขน แขนไม่มีแรง ในบางรายพบว่าขยับแขนได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะถ้าขยับมากไปก็จะเกิดอาการปวดเสียวแปล๊บไปทั้งแขน ถ้ามีอาการแบบนี้ถือว่าทรมานมากค่ะ เพราะในชีวิตประจำวันของคนเราต้องใช้แขนและหัวไหล่ในการเคลื่อนไหวเพื่อทำกิจวัตรต่างๆ แต่ถ้าปวดทุกครั้งที่ขยับ ก็จะทำให้มีปัญหาต่อการใช้ชีวิตค่อนข้างมาก แล้วเราจะป้องกันยังไงดี??? เพราะถ้าหากเป็นแล้ว การรักษาก็ต้องใช้เวลา สู้หาทางป้องกันก่อนที่อาการจะลุกลามดีกว่า  ก่อนอื่นมาเข้าใจสาเหตุของอาการกันก่อนค่ะ ปวดไหล่ สาเหตุเกิดจากอะไร ก่อนอื่นเลยทุกท่านทราบไหมคะว่า ปัจจัยใดจึงทำให้หัวไหล่ที่สมดุลอยู่ก่อนนั้นต้องกลับเสียสมดุลไป ก็จากพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์เรานี่เองค่ะ มาดูกันนะคะว่ามีพฤติกรรมอะไรบ้างที่เราพบกันบ่อยในปัจจุบัน การก้มเล่นสมาร์ทโฟน การนั่งใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน การนั่งในท่าคอก้ม ไหล่ห่องุ้ม หลังค่อม โดยไม่รู้ตัว หลายคนที่มีอาการปวดแขนและไหล่ คอและบ่า พบว่ามักใช้เวลาวันละหลายๆชั่วโมงสำหรับการทำงานผ่านอคอมพิวเตอร์บ้าง เล่นมือถือบ้าง ซึ่งก็มักนำไปสู่ท่านั่งดังกล่าว นี่เองคือสาเหตุหลักที่ทำให้กระดูกหัวไหล่ที่ปกติอยู่ตรงกลางเบ้า กลับดันมาด้านหน้ามากเกินไป เมื่อเคลื่อนไหวก็เกิดการกดอัดที่เส้นเอ็น ทำให้เกิดการอักเสบตามมาในที่สุด หลายคนกว่าจะรู้ตัวหรือปรับเปลี่ยนวิธีการนั่ง ก็มีอาการปวดกันจนเรื้อรังไปแล้ว อาการปวดไหล่ ปวดแขน สาเหตุอื่นๆที่พบบ่อย นอกจากเรื่องการใช้คอมและมือถือ ยังมีสาเหตุอื่นที่เราพบบ่อย เช่น…

ปวดหลังจากแนวกระดูกสันหลังขาดความมั่นคง

ปวดหลังจากแนวกระดูกสันหลังขาดความมั่นคง สาเหตุ และ อาการ เกิดจากอะไร

ปวดหลังจากแนวกระดูกสันหลังขาดความมั่นคง คืออะไร วันนี้เรามาทำความรู้จักอาการนี้กันค่ะ เพราะมันเป็นภัยร้ายแรงอย่างคาดไม่ถึงที่อาจส่งผลเรื้อรังต่อร่างกายได้ สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านทุกท่าน สำหรับท่านที่ติดตามกันมาตลอดก็คงพอเข้าใจเกี่ยวกับอาการปวดหลังที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายๆ อย่าง ผู้เขียนเชื่อว่า เมื่อท่านมีอาการปวดหลังขึ้นมาเมื่อไหร่ ท่านจะเป็นหมอที่ดีสุดที่สามารถบอกตัวเองได้ว่าอาการปวดหลังของท่านนั้น เกิดจากเนื้อเยื่อส่วนใดของหลัง สามารถบอกปัญหาที่แท้จริงของอาการปวดนั้นๆได้ และที่สำคัญคือต้องสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ด้วย แนวกระดูกสันหลังขาดความมั่นคง คืออะไร ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักอาการปวดของหลังอันเนื่องมาจาก “แนวกระดูกสันหลังขาดความมั่นคง” ( Lumbar Instability) ฟังดูแล้ว หลายท่านที่เป็นคนร่างกายกำยำ ดูแข็งแรง ต้องคิดว่าตัวเองไม่ได้เป็นแน่ๆ เพราะคาดคะเนจากสภาพร่างกายตนเอง แต่ลองฟังต่อไปก่อนนะคะ เมื่อพูดถึงการขาดความมั่นคงแล้ว แท้ที่จริงร่างกายคนเราไม่ได้มั่นคงจากกายภายนอกว่าดูกำยำล่ำสัน แต่เราดูลึกลงไปถึงแนวกระดูกที่มีเนื้อเยื่อต่างๆ เสริมให้มั่นคงอยู่ชั้นในสุด นึกถึงต้นไม้ใหญ่บางชนิดที่แผ่กิ่งก้านมากมายดูเหมือนมั่นคงแข็งแรง แต่เพียงโดนลมกรรโชกพัดมากลับโค่นได้อย่างง่ายดาย นั่นเป็นเพราะรากที่หยั่งทรงให้ต้นไม้นั้นไม่มั่นคงแข็งแรงพอ จึงโค่นล้มลงมาอย่างคาดไม่ถึง ทั้งที่ดูภายนอกเหมือนมั่นคง ตรงกันข้ามกับต้นไม้บางชนิดที่สูงตระง่าน ลำต้นดูเล็กบาง น่าจะโดนลมพัดโค่นได้ง่ายๆ แต่กลับแข็งแกร่ง ไม่สะทกสะท้านต่อแรงลม นั่นเป็นเพราะรากลึกภายในของต้นไม้ชนิดนั้นหยั่งลงด้วยความแข็งแรงมั่นคงนั่นเอง ร่างกายคนเราก็ไม่ต่างกันค่ะ ความมั่นคงแข็งแรงที่พูดถึงเราไม่ได้ดูกันจากภายนอกว่ากล้ามใหญ่ มัดสวยงาม แต่วัดกันที่ความมั่นคงแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อส่วนลึกที่ติดกับชั้นกระดูกสันหลัง เป็นตัวสำคัญที่ทรงให้กระดูกเรามั่นคงแข็งแรง ซึ่งหากจะแยกย่อยว่า ตัวที่สร้างรากฐานให้แนวกระดูกสันหลังของคนเรามั่นคงมีอยู่ 3 ระบบด้วยกันคือ 1. The passive subsystem…

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกเคลื่อนทับเส้น

กระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท สาเหตุหลักของการปวดหลัง มาจากกรณีใดบ้าง

กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท สาเหตุหลักของอาการปวดหลัง ( Lumbar Spondylolisthesis) นี่คือภัยเงียบจากร่างกายที่สำคัญมาก หากปล่อยไว้ไม่ดูแลรักษาให้เหมาะสม อาจจะเรื้อรังจนส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของเราได้ สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านทุกท่าน ฉบับนี้ก็มีเรื่องราวดีๆ สำหรับสุขภาพหลังมาฝากกันอีกแล้วค่ะ คราวที่แล้วผู้เขียนได้เล่าให้ฟังไปแล้วว่าโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนนั้นเกิดที่ส่วนใดขององค์ประกอบหลัง และมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง ฉบับนี้จะบอกอีกสาเหตุหนึ่งของอาการปวดหลังที่มักพบกันได้บ่อยๆ นั่นคือ กระดูกเคลื่อน ซึ่งการเคลื่อนนั้นมักมีผลกระทบต่อเส้นประสาทที่ออกมาจากข้างแนวกระดูกสันหลัง จึงเรียกว่ากระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท ฟังชื่อแล้วดูคล้ายๆ กับหมอนรองกระดูกเคลื่อน แต่อาการนี้เป็นตัวกระดูกสันหลังเคลื่อนเองเลยค่ะ ไม่ใช่หมอนเคลื่อนนะคะ ฉบับที่แล้วเราได้ทราบถึงโครงสร้างของหลังแล้วว่าประกอบด้วยส่วนใดบ้าง? กระดูกแต่ละปล้องเรียงตัวอย่างไร? มีหมอนรองกระดูกคั่นตรงไหน? เส้นประสาทออกจากตรงไหน? ดังนั้นเมื่อผู้เขียนกล่าวถึงกระดูกเคลื่อนก็จะนึกภาพได้ชัดเจนมากขึ้น กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ไปด้านหน้า เป็นภาวะที่กระดูกแต่ละปล้องของหลังจากปกติที่เรียงตัวอยู่ในแนวความโค้งที่ถูกต้อง แต่เมื่อเคลื่อนจะเป็นการมองเทียบระหว่างกระดูกปล้องบนต่อกับปล้องล่าง การเคลื่อนของกระดูกปล้องบนไปด้านหน้าเมื่อเทียบกับท่อนล่าง หากเกิดภาวะเช่นนี้เราเรียกว่าเป็นกระดูกสันหลังเคลื่อน( Lumbar Spondylolisthesis) ซึ่งกรณีนี้มักจะเกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังท่อนล่างๆ หรือกระดูกสันหลังต่อกับกระดูกกระเบนเหน็บ (Lumbosacral area) กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ไปด้านหลัง อีกประเภทซึ่งพบได้แต่น้อยคือการเคลื่อนของกระดูกปล้องบน เลื่อนไปด้านหลังเมื่อเทียบกับท่อนล่าง (Retrolisthesis or Retrospondylolisthesis) การเคลื่อนแบบนี้จะมีอาการคล้ายๆ กัน จะสามารถวินิจฉัยได้ก็ต่อเมื่อได้รับการเอ็กซเรย์แล้วการเคลื่อนของกระดูกทั้งสองกรณี ในบางรายอาจมีผลต่อการกดทับหรือกระทบต่อไขสันหลังและช่องทางออก ของเส้นประสาท เป็นสาเหตุที่อาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดบริเวณก้น ชา…