ปวดหลัง สาเหตุ อาการ

DIY สารพัดแก้อาการปวดหลัง หายได้ด้วยตัวคุณเอง

อาการปวดหลังปวดคอ มักเป็นปัญหาใหญ่ของคนที่มีอายุตั้งแต่เลขสามขึ้นไป เช่น มนุษย์เงินเดือนในออฟฟิศ ที่ต้องนั่งพิมพ์งานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ผู้สูงอายุที่สังขารเสื่อมไปตามเวลา ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุหรืออาจเกิดมาจากโรคต่างๆ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากกระดูกสันหลัง แต่บางคนมีอาการเป็นเวลานานเรื้อรัง สร้างความทรมานและไม่สะดวกต่อการดำเนินชีวิต อย่าตกใจไป อาการปวดเหล่านี้คุณสามารถบำบัดรักษาให้หายด้วยตัวเองที่บ้าน เพียงปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตแบบ DIY เพ็ญพิชชากร แสนคำ ผู้อำนวยการสถาบันปรับโครงสร้างร่างกาย อริยะ ( ARIYAWELLNESS CENTER ) อธิบายถึงสาเหตุของการอาการปวดว่า เนื่องจาก หลังส่วนล่างเป็นบริเวณที่ต้องแบกรับน้ำหนักอยู่ตลอดเวลาและต่อเนื่อง หากมีการใช้อิริยาบถที่ไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดอาการปวดตามมาได้ ซึ่งอาการปวดหลังส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อส่วนที่ใช้พยุงหลัง กระดูกสันหลัง รวมทั้งหมอนรองกระดูก ซึ่งจริงๆ แล้วคนที่มีอาการปวดหลัง ประมาณ 80 % จะมีสาเหตุมาจากการใช้อิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง ทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง เมื่อยล้า สะสมนานเข้าก็จะนำไปสู่อาการปวดและจะมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ   สำหรับอิริยาบถหรือพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกต้องจำเป็นต้องแก้ไข สำหรับคนที่สงสัยว่ามีอาการปวดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องไปดูกันว่ามีอะไรบ้าง เริ่มจากการนั่งไขว่ห้าง นั่งปุ๊บขาไขว้กันปั๊บ แต่รู้หรือไม่ท่าแบบนี้แหละ ที่อาจทำให้กระดูกสันหลังคดได้ หนุ่มๆ สาวๆ ที่ชอบนั่งแล้วนึกว่าสบาย รีบแก้ไขแบบด่วน ! ด่วน ! ต่อมาคือการนั่งกอดอก ขอให้เป็นแค่ท่าประกอบสำหรับถ่ายรูปแบบสนุกๆ เท่านั้น…

ท่านั่งกึ่งนอน

10 วิธีหนีให้ไกลก่อนร่างกายเสียสมดุล

ทุกๆ วันเราต่างต้องเผชิญกับปัญหาหลากหลาย ที่รุมเร้าเข้าทำร้ายตัวเองอย่างช้าๆ โดยไม่รู้ตัว จากพฤติกรรมต่างๆ ของตัวเราเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกระดูกสันหลังที่เป็นโครงสร้างหลักของร่างกาย

10 วิธีบอกลาอาการปวดของชาวออฟฟิศ

นอกจากภาวะความเครียดที่บั่นทอนสุขภาพของเหล่ามนุษย์เงินเดือนในออฟฟิศที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำกันเป็นปีๆแล้ว สภาพออฟฟิศที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น แสงไฟน้อยหรือมากเกินไป อากาศไม่ถ่ายเท เก้าอี้ โต๊ะทำงานหรือโต๊ะคอมพิวเตอร์ ไม่ได้สัดส่วนกับร่างกาย รวมทั้งสภาพร่างกายหรือการจัดสมดุลโครงสร้างร่างกายไม่เหมาะสมในการทำงาน หลังเลิกงานยังต้องฝ่าด่านรถติดหนึบบนท้องถนนวันละหลายๆ ชั่วโมง ไม่ว่าจะนั่งหรือยืนโหนรถเมล์หรือรถไฟฟ้า หนำซ้ำเมื่อกลับถึงบ้าน บางคนยังนอนอย่างไม่ถูกสุขลักษณะเสียอีก ชาวออฟฟิศส่วนใหญ่ร้อยละ 90 จึงเสี่ยงต่ออาการ “ปวดเมื่อยเรื้อรัง” หรือบางคนอาจจะรู้จักในชื่อ “ออฟฟิศซินโดรม” จริงๆ แล้วคนส่วนใหญ่ต่างก็ทราบกันดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพฤติกรรมการทานอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ และที่สำคัญที่สุด ก็คือ พฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันหรืออิริยาบถ ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวมากว่ามีประโยชน์ แต่ จนแล้วจนรอดก็ถูกมองข้ามหรือลดความสำคัญลงอย่างน่าเสียดาย และ นี่เองจึงเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง และเป็นตัวกำหนดถึงความเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของคนเราได้ในอนาคต ลองไปดูข้อมูลจากสถาบันปรับโครงสร้างร่างกายอริยะ ที่ได้เคยกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้พร้อมเทคนิคดีๆ 10 วิธี บอกลาอาการปวดก่อนที่โครงสร้างร่างกายจะเสียสมดุล   1. การนั่งไขว่ห้าง พฤติกรรมยอดฮิตที่ทั้งผู้หญิงและผู้ชายทำกันเป็นปกติ คุณรู้ไหม ? การนั่งไขว่ห้างจะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กระดูกคดอย่างแน่นอน หรืออาจจะคดแล้วก็ได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว 2. การนั่งกอดอก เบื่อไม่รู้จะทำอะไรกอดอกไว้ก็ดี แต่รู้ไหมว่าจะทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ ถูกยืดยาวออก…

ปรับโครงสร้างร่างกายต้านภัย “โรคไมเกรน”

ตอนที่ 1 โรคไมเกรน(Migraine)/ปวดศีรษะจากการตึงเครียด (Tension-type headache) ไมเกรน เป็นอาการปวดศีรษะ ของคนทั่วโลกที่พบได้บ่อย และเป็นมากที่สุดอีกโรคหนึ่งและมีสถิติเพิ่มมากขึ้นทุกปี ปัจจุบันพบว่าอัตราส่วนของผู้ที่ไปพบแพทย์ 3 ใน 4 คน มีอาการปวดศีรษะไมเกรน จากข้อมูลดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ว่าปัจจุบันคนเรามีภาวะเสี่ยงต่ออาการปวดศีรษะมากขึ้น ทั้งนี้ก็ด้วยสังคมปัจจุบันที่ต้องเผชิญกับความวุ่นวายและดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด สาเหตุของโรคไมเกรน ในทางการแพทย์ระบุไว้ว่าเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่ากลไกของการเกิดโรคนี้เกิดจากภาวะที่สมองหลั่งสารที่ทำให้เส้นเลือดขยายตัว ทำให้ปลายประสาทที่ผนังหลอดเลือดถูกกระตุ้น จึงทำให้รู้สึกปวดส่วนในทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อพบว่า ผู้ป่วยไมเกรนจะมีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นคอ ท้ายทอย กกหู บ่า รวมถึงกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ สะบัก ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะตามแนวกระดูกคอ และกกหู ตลอดแนวของท้ายทอย และที่สำคัญยังเป็นกล้ามเนื้อที่เป็นทางผ่านของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ดังนั้น หากกล้ามเนื้อบริเวณนี้มีอาการเกร็งจะทำให้จำกัดการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เมื่อเลือดไหลเวียนได้น้อยลงจึงทำให้เกิดอาการปวด และจะปวดมากขึ้นเมื่อมีภาวะที่ต้องเครียด หรือต้องใช้งานมัดกล้ามเนื้อเหล่านี้ต่อเนื่อง เป็นเวลานาน เมื่อมีภาวะเครียด เช่น โกรธ ตื่นเต้น ตกใจ ฯลฯ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่งเรียกว่า Adrenaline เพิ่มขึ้น ผลก็คือจะยับยั้งการส่งข้อมูลของเซลล์สมอง ทำให้คิดอะไรไม่ออก และกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ คือหลอดเลือดในร่างกายหดเกร็ง ทำให้หัวใจเต้นถี่และเร็ว ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนสู่อวัยวะต่างๆ ก็ลดลงด้วย…

ปรับโครงสร้างร่างกายต้านภัย ปวดคอ

ปรับโครงสร้างร่างกายต้านภัย “ปวดคอ”

ปรับโครงสร้างร่างกาย ช่วยลดอาการปวดคอ ลดความเสี่ยงเสียสุขภาพชีวิต เนื่องจากผู้คนในสังคมปัจจุบันที่ยังต้องดิ้นรนทำมาหาเลี้ยงชีพอยู่นั้น เชื่อได้แน่เลยว่าเกือบทุกอาชีพมีลักษณะการทำงานที่มักต้องทำอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ เกือบทุกคนต้องก้มคอต้องก้มหลังทำงาน บ้างก็เป็นการทำงานที่ต้องนั่งหรือยืนทำท่าที่ซ้ำๆ ต้องอยู่ในท่าเดิมนานต่อเนื่องเป็นเวลานาน แล้วผลจากการอยู่ในท่าทางดังกล่าวจึงทำให้วัยทำงานประสบปัญหากับอาการปวดคอ บ่า ปวดร้าวขึ้นศีรษะ นอนไม่หลับ หงุดหงิด กระสับกระส่าย สมาธิสั้นรบกวนการทำงาน บางทีอาจมีอาการปวดร้าวลงแขน หรือมีอาการอ่อนแรงของแขนร่วมด้วย หนักไปกว่านั้นอาจจะพบว่ามีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจไม่ค่อยอิ่ม เหนื่อยง่าย ต้องพึ่งยาแก้ปวดบ่อยๆ ฯลฯ เป็นต้น แล้วเราจะแก้ไขหรือป้องกันได้อย่างไรดี อาการปวดคอ สาเหตุมาจากอะไร โดยมากแล้ว สาเหตุที่มีอาการเหล่านี้ก็เนื่องมาจากท่าทางการทำงานที่ผิดปกติ ส่งผลให้กระดูกกล้ามเนื้ออยู่ในแนวที่ไม่ถูกต้องเป็นต้นว่าการนั่งทำงานส่วนใหญ่ที่ต้องนั่งก้มไปด้านหน้า หลังค่อม ไหล่งุ้ม คอและคางยื่น ศีรษะยื่นไปด้านหน้า แล้วถ้าหากเป็นงานที่ต้องใช้แรงแขนหรือออกแรงมาทางด้านหน้าทั้งที่ยังก้มอยู่ ตัวอย่างเช่น หมอฟัน ก็อาจก่อให้เกิดปัญหายิ่งกว่าปกติด้วยซ้ำ เพราะกล้ามเนื้อหน้าอกก็จะยิ่งเกร็งมากขึ้น จากท่าทางที่กล่าวมา จะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อต้นคอด้านหน้า กล้ามเนื้อหน้าอก กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจช่วยในการขยายตัวของชายโครง(Internal intercostals muscle) จะหดสั้นลง และรั้งจนทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงคอและช่วงอกค่อม หากมีการยึดรั้งมากๆ จะทำให้ไม่สามารถหายใจเข้าลึกๆ ให้เต็มปอดได้ การขยายตัวของชายโครงขยายตัวได้น้อยอากาศก็จะเข้าได้น้อยด้วย นอกจากนี้ ออกซิเจน (Oxygen) ก็ถือเป็นอาหารของเนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆหากร่างกายนำไปใช้ได้น้อยก็จะทำให้เซลล์ไม่แข็งแรง อ่อนแอและไม่สามารถต้านภัยต่างๆที่จะกระทำต่อร่างกายได้…

ปรับโครงสร้างร่างกายต้านภัย “อัมพฤกษ์ อัมพาต”

การได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นสิ่งวิเศษยิ่ง แต่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจนั้นเป็นสิ่งที่วิเศษมากกว่า แต่ในสังคมปัจจุบัน ผู้ที่มีทุกสิ่งพร้อมทางร่างกายมักจะไม่ค่อยระวัง และไม่ดูแลกายนี้ให้ดีพอ มักใช้ร่างกายจนทรุดโทรมเสื่อมถอย เร็วกว่าวัยอันควร โดยลืมไปว่าเราต้องอยู่กับกายนี้จนกว่าชีวิตจะดับไป ดังนั้นจึงควรดูแลรักษาให้ดี ใช้เขาหาเงินเป็นหลักล้านแต่ดูแลหลักร้อย จะให้อะไรดีๆหรือป้องกันก่อนที่เขาจะเป็น ก็เสียดาย เพราะคิดว่ายังไม่เป็นอะไร ต้องรอให้ถึงขั้นเป็นโรค ถึงขั้นควบคุมอะไรไม่ได้ แล้วค่อยมาคร่ำครวญภายหลัง ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น คงไม่สามารถเรียกร้องทุกสิ่งให้กลับมาเหมือนเดิมได้ คนที่เกิดมากับความพิการย่อมรู้ดีว่าการมีร่างกายที่สมบูรณ์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สุดแล้ว แต่คนที่เกิดมาสมบูรณ์พร้อม กลับไม่เห็นคุณค่า ยิ่งสังคมในยุคนี้ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด จึงใช้ร่างกายจนลืมไปว่าเขาต้องมีความสมดุล ต้องแข็งแรง ในการดำเนินชีวิตนี้ท่านจึงจะใช้เขาได้ตลอดโดยไม่ต้องเสียเวลา เสียเงินทองมากมาย เพื่อรักษาเขาในภายหลัง อัมพาต เป็นบทสรุปของคนที่ใช้ร่างกายตัวเองมากเกินไป โดยไม่ดูแล โรคอัมพาตเป็นความทรมานอย่างยิ่ง ท่านลองคิดดูว่าร่างกายที่เคยพร้อมสรรสร้างทุกสิ่ง ทำกิจวัตรต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ทำงานหาเงิน เดินเหินคล่องแคล่ว ไม่ต้องพึ่งพาใคร แต่วันหนึ่งกลับทำอะไรด้วยตัวเองไม่ได้เลย คิดสิ่งใดก็ไม่สามารถทำได้เหมือนแต่ก่อน กลายเป็นภาระของคนอื่น ทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสทั้งทางกายและใจ ยากที่จะแก้ไขสิ่งใดได้ มากกว่ายื้อชีวิตให้อยู่ได้นานขึ้น จะรักษาฟื้นฟูกันมากขนาดไหนก็คงได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถกลับมาได้ปกติสมบูรณ์ดังเดิม เงินที่ใช้ร่างกายนี้ทุ่มเทหามามากมาย ก็ไม่อาจซื้อร่างกายและจิตใจอันเดิมกลับมาได้ ต้องจมอยู่กับทุกข์ที่ได้แต่คร่ำครวญว่าไม่น่าละเลยตัวเองเลย สิ่งสำคัญที่สุดของชีวิตนี้ก็คือ ทำอย่างไรล่ะให้ร่างกายนี้ดีจนแก่เฒ่า ไม่ต้องทุกข์ทรมานมากในบั้นปลายชีวิต ไม่ต้องเป็นภาระใคร มีคุณภาพชีวิตที่ดีจนถึงลมหายใจสุดท้าย ยิ่งสังคมในปัจจุบันนี้ มีแนวโน้มเป็นสังคมแบบพึ่งตนเอง…

ปรับโครงสร้างร่างกายต้านภัย “โรคหัวใจและหลอดเลือด”

สถิติการเสียชีวิตของประชากรไทย โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นโรคที่มีคนเสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าเป็นโรคที่รักษาแล้วเปอร์เซ็นน้อยมากที่จะกลับมามีร่างกายแบบเดิมได้ ดังนั้นหากไม่ต้องการเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ก็ควรต้องรีบใส่ใจร่างกายตนเองตั้งแต่วินาทีนี้

ปรับโครงสร้างร่างกายต้านภัย “กระดูกสันหลังคด”

ในยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นยุคที่มากไปด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เป็นความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุ จนทำให้ผู้คนหลงมัวเมาอยู่กับความเจริญเหล่านี้ อีกทั้งค่านิยมที่เปลี่ยนไปของคนไทยไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมประเพณี ความเป็นอยู่ บุคลิกท่าทาง การแสดงออก การแต่งตัว การใช้ชีวิต ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นการเปลี่ยนที่มองเห็นเพียงด้านเดียว แต่อีกด้านหนึ่งจะเห็นได้ว่าความเจริญทางวัตถุและค่านิยมมาพร้อมกับการทำลายสุขภาพร่างกายและจิตใจ กัดกร่อนเป็นภัยเงียบที่คุกคามเราโดยไม่รู้ตัว ในทางสถิติจะเห็นได้ว่าอายุโดยเฉลี่ยของคนในสังคมปัจจุบันสั้นลง รวมทั้งมีคนเป็นโรค เจ็บป่วยด้วยภาวะต่างๆมากขึ้นทุกวัน จะเห็นได้จากอัตราการบริโภคยาของคนไทยในปัจจุบัน เพิ่มสูงขึ้นจนน่าเป็นห่วง ด้วยสังคมความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไป ปัจจัยที่เป็นภาวะกระทบต่อร่างกายก็มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มไหน วัยใด ความเสื่อมของร่างกายก็เร็วกว่าเวลาอันควร ภาวะหนึ่งซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นหรือเปล่านั่นก็คือ “ภาวะกระดูกสันหลังคด” เป็นโรคที่เสมือนภัยเงียบที่คอยกัดกร่อนร่างกาย จะรู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อร่างกายฟ้องออกมาด้วยอาการเจ็บ ปวด กล้ามเนื้อเรื้อรัง และถึงขั้นกระทบระบบประสาท มีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรืออาจเสี่ยงต่อการเป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรครุนแรงต่างๆ ตามมาได้ ซึ่งแน่นอนหากเป็นมากแล้ว ยากต่อการที่จะรักษาให้กลับมาได้เหมือนเดิม กระดูกสันหลัง ถือเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นที่อยู่ของไขสันหลังที่ต่อมาจากสมอง เป็นทางออกของรากประสาทที่จะนำคำสั่งจากสมองไปสู่อวัยวะต่างๆ เพื่อให้การทำงานของระบบต่างๆภายในร่างกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นหากแนวกระดูกสันหลังไม่เรียงตัวอยู่ในแนวที่ปกติ ผลกระทบที่มีต่อร่างกายก็ค่อนข้างมาก เริ่มจากอาการไม่คล่องตัว อาการปวดกล้ามเนื้อ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ รวมไปถึงความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆได้ในอนาคต กระดูกสันหลังคด เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังไม่ได้เรียงตัวอยู่ในแนวที่ถูกต้อง ไม่เป็นเส้นตรง แต่เบนออกทางซ้ายหรือขวา…

ปรับโครงสร้างร่างกายต้านภัย “หมอนรองกระดูก”

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนด้วยการปรับโครงสร้างร่างกายให้สมดุลและแข็งแรงนั้น สามารถทำให้โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนหายได้และที่สำคัญไม่มีความเสี่ยงใดๆ เพราะเป็นการปรับโดยวิถีธรรมชาติ ซึ่งการปรับจะค่อยๆเป็นค่อยๆไปตามสภาพร่างกายของแต่ละคน