วิธีเลือกชุดชั้นใน

ชุดชั้นในสตรีที่ได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี จากผู้เชี่ยวชาญเรื่องโครงสร้างร่างกายและรู้จริงถึงสรีระของมนุษย์ ดังนั้นการใช้บราเซียร์ มีข้อดีกว่าชุดชั้นในยี่ห้ออื่น ๆ อย่างไร

งานวิจัยเกี่ยวกับชุดชั้นใน

ข้อมูลอ้างอิงการศึกษาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุดชั้นใน 1. Researhers at the University of Texas S.W. Medical Center http:www.swmad.edu/home page/library/consumer/brastrap.htm พบว่าสายเสื้อในที่รัดแน่นเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดศรีษะและอาจไปสู่การทำลายเส้นประสาท 2. Dr.John McDougall, M.d., states in his recent book titled The McDougall Program for a Healthy Heart, on p.246, การทำงานของระบบน้ำเหลือง จะช่วยกำจัดการสะสมของสารพิษที่มาจากเนื้อเยิ่อ การไหลเวียนของน้ำเหลืองที่ไม่ดีทำให้เกิดการสะสมของเสีย จนอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการสร้างมะเร็งในเต้านมได้ การขัดขวางหรือกำจัดการไหลเวียนของน้ำเหลืองเกิดขึ้นได้ง่ายจากแรงกดภายนอก อันได้แก่เสื้อชั้นใน หรือเสื้อผ้าที่รัดแน่นมากเกินไป 3. Jesse Hanley. M.d. “What your doctor may not tell you about premenopause.” Warner…

ปวดน่อง ตะคริวที่น่อง สาเหตุ อาการ

ปวดน่อง ตะคริวที่น่อง สาเหตุ อาการ แก้ไ้ข ดูแล รักษา ยังไงดี (ตอนที่ 10)

เมื่อพูดถึงอาการตะคริวที่น่องหรืออาการปวดเมื่อยน่อง หลายคนที่เคยเป็นจะรู้สึกกลัวเพราะมันเหมือนฝันร้ายที่ทำให้ต้องตื่นขึ้นมากลางดึกพร้อมความหงุดหงิดรำคาญใจ

ปวดเข่า ปวดข้อเข่า สาเหตุจากอะไร

ปวดเข่า ปวดข้อเข่า สาเหตุจากอะไร ตรวจสอบอาการง่ายๆก่อนปรับโครงสร้างร่างกาย (ตอนที่ 9)

ปวดเข่า ปวดข้อเข่า สาเหตุจากอะไร แล้วเราจะสามารถตรวจอาการง่ายๆได้หรือไม่ เพื่อที่จะได้ดูแลรักษา และปรับร่างกายให้ดีขึ้น ก่อนที่ร่างกายของเราจะเสื่อมสภาพเกินไป ก่อนอื่นต้องยอมรับก่อนค่ะว่า ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา ไม่ว่าจะเป็นการประกอบกิจใดก็หนีไม่พ้นที่จะต้องใช้อิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ซึ่งมีผลต่อร่างกายเรามาก หลายท่านอาจคิดไม่ถึงว่าอิริยาบถทั้งสี่นี้ ส่งผลต่อการเจ็บป่วยของเราได้ จากที่เคยกล่าวไว้ว่า โรคเกิดจาก “พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม” พฤติกรรมก็คืออิริยาบถในการใช้ชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง บางท่านอาจใช้ชีวิตประจำวันในการนั่งมาก บางท่านอาจต้องเดินหรือยืนมาก ถ้าทั้งหมดนี้เป็นงานที่เราเลี่ยงไม่ได้ เราก็ควรจะต้องอยู่ในอิริยาบถทั้งสี่ ด้วยท่าทางที่ถูกต้อง เพื่อให้ศักยภาพของร่างกายสามารถใช้งานได้โดยไม่มีโรคภัยมารบกวนการใช้ชีวิต เสียงเตือนจากร่างกายตอนนี้ จะขอพูดถึงกลุ่มคนที่ต้องใช้ชีวิติประจำวันในการทำงานที่ต้องเดิน หรือยืนมาก เพราะเป็นปัญหาที่พบในทุกเพศทุกวัย หลายท่านอาจจะปล่อยไปเรื่อยๆ จนมีอาการ “ปวดเข่า” และปล่อยต่อไปอีกเรื่อยๆจนรุนแรงถึงขั้นเข่าเสื่อม (OA = Osteoarthritis) และเมื่อเข่าเสื่อมรุนแรงจนเดินไม่ได้ ปวดเข่ามากจนเป็นอุปสรรคต่อการเดิน หรือการยืน การรักษาหรือการฟื้นฟูก็ยาก และหลังการรักษาก็อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของข้อเข่าไม่เหมือนเดิมค่ะ ข้อเข่า ประกอบด้วยอะไรบ้าง  ซึ่งก่อนที่เราจะพูดถึงปัจจัย หรือเสียงเตือนต่างๆของร่างกายที่จะบ่งบอกถึงความผิดปกติของเข่า เรามาเรียนรู้จักข้อเข่าของเรากันก่อนดีกว่า ว่าข้อเข่าเป็นอย่างไร? ประกอบด้วยอะไรบ้าง? ข้อเข่า ประกอบด้วยกระดูกที่มาเชื่อมเข้ากันทั้งหมด 3 ชิ้น ได้แก่…

กระดูกสันหลังคด spine scoliosis-banner

ภาวะกระดูกสันหลังคด ภัยเงียบ (ตอนที่ 8) เมื่อหลังคดแต่ไม่แสดงอาการ จะรู้ได้ยังไง ดูแลตัวเองยังไง

ภาวะกระดูกสันหลังคด ตรวจอาการยังไง แล้วจะดูแลตัวเองยังไง เพราะเราพบว่าบางครั้งร่างกายอาจจะไม่แสดงสัญญาณเตือนออกมา แล้วเราจะทราบได้อย่างไรก่อนที่อาการปวดร้าวมันจะลุกลามจนสายเกินกว่าจะรักษาได้แล้ว มาดูวิธีตรวจสอบอาการนี้กันค่ะ ภาวะกระดูกสันหลังคด ตรวจอาการยังไง เราได้ทราบกันในฉบับที่แล้วว่า เมื่อมีภาวะกระดูกสันหลังคด ร่างกายจะแสดงอาการเตือนอย่างไรบ้าง เพียงแต่เราจะสังเกตเห็นอาการเตือนนั้นหรือไม่? บางรายก็ไม่แสดงอาการเตือนมากในช่วงที่เริ่มเป็น หรือในช่วงที่ยังคดไม่รุนแรง แต่เราก็ยังมีวิธีสำรวจหรือสังเกตความเปลี่ยนแปลงในร่างกายเราได้เมื่อเริ่มเป็น ซึ่งอาจจะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงได้จากข้อสังเกตดังต่อไปนี้ ทุกครั้งเมื่อถ่ายรูป ช่างภาพมักบอกให้เราเอียงคอไปซ้ายหรือขวาเพื่อให้หน้าตรง ทั้งๆ ที่เราก็รู้สึกว่าเราตรงแล้ว มักมีคนทักว่าหน้าบิดหรือแก้มสองข้างไม่เท่ากัน รู้สึกว่าบ่าด้านใดด้านหนึ่งลู่ต่ำกว่าอีกด้าน เหมือนไหล่เอียง หากเป็นท่านสุภาพสตรีจะสังเกตได้ว่าสายเสื้อในมักหลุดด้านเดียวบ่อยๆ ทั้งที่ปรับสายเท่ากันแล้ว หรือเวลาตัดเสื้อ ช่างมักทักบ่อยๆ ว่าบ่าสองข้างไม่เท่ากัน ต้องหนุนฟองน้ำเสริมบ่าด้านใดด้านหนึ่งมากกว่าเพื่อให้ไหล่เท่ากัน ท่านรู้สึกได้ว่าหน้าอกสองข้างสูง-ต่ำไม่เท่ากัน เอวคอดสองข้างไม่เท่ากัน กระดูกเชิงกรานบิด หรือเอียงไปด้านหนึ่ง รู้สึกเหมือนขาทั้งสองข้างสั้น-ยาวไม่เท่ากัน ขาหรือเข่าบิด มากกว่าปกติ สังเกตเห็นว่าส้นรองเท้าสองข้างสึกไม่เท่ากัน หลังค่อมและแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจากสิ่งที่สังเกตได้จากร่างกายเหล่านี้ เราสามารถตรวจสอบตัวเองได้ง่ายๆด้วยการส่องกระจกดู หรือคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตลูกหลานได้จากท่าทางต่างๆ ของเด็ก เช่น เด็กเหมือนหลังค่อมมาก เชิงกรานเบี้ยวตัวงอ บุคลิกภาพไม่ดี กระดูกสันหลังด้านใดด้านหนึ่งปูดออกมาฯลฯ เหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่ท่านสามารถตรวจได้ด้วยตัวเองและคนรอบข้างว่าท่านอาจจะมีภาวะกระดูกสันหลังคดก็เป็นได้ กระดูกสันหลังคด ดูแลตัวเองยังไง เมื่อเราทราบกันแล้วว่าหากเรามีอาการกระดูกสันหลังคด คำถามต่อมาคือ เราจะต้องดูแลตัวเองอย่างไร ในขั้นแรกเมื่อทราบว่ากระดูกสันหลังคด จากการสังเกตตัวเองเบื้องต้น…

กระดูกสันหลังคด spine scoliosis-banner

กระดูกสันหลังคด คืออะไร (ตอนที่ 7) มีกี่แบบ อันตรายต่อร่างกายยังไงบ้าง

กระดูกสันหลังคด คือ ภาวะความผิดปกติที่พบได้ทุกเพศทุกวัย พบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบมากในช่วงวัยรุ่น และวัยทำงาน ภาวะหลังคดนี้นอกจากจะทำให้บุคลิกภาพไม่ดีแล้วยังเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคหรืออาการต่างๆตามมาได้อีกมากมายค่ะ กระดูกสันหลังคด สัญญาณเตือนของร่างกาย เสียงเตือนจากร่างกายในตอนนี้ อาจเป็นเสียงเตือนของหลายท่านเลยทีเดียว เพียงแต่หลายท่านอาจจะละเลยกับเสียงเตือนนี้ไปเนื่องจากมองข้ามความสำคัญ ท่านเคยสังเกตไหมว่า  ทำไมบางกิจกรรมที่เคยทำเป็นกิจวัตรประจำวัน กลับดูเหมือนลำบากมากขึ้น เหนื่อยมากขึ้น เช่น เดินในระยะใกล้ๆ เดินขึ้นบันได เดินข้ามสะพานลอย ฯลฯ กิจวัตรประจำวันเหล่านี้จะทำให้ท่านรู้สึกเหนื่อยง่ายเหนื่อยหอบมากกว่าปกติ หายใจลำบากหรือที่เรียกกันว่าหายใจไม่อิ่ม แม้แต่การหายใจธรรมดาๆ ท่านเคยได้สังเกตร่างกายที่เตือนเราหรือไม่ว่าทุกครั้งที่หายใจรู้สึกเหมือนหายใจไม่สุด หายใจได้ไม่ลึกเท่าที่ควร หายใจสั้นและเร็วกว่าเดิมมาก จนรู้สึกเหมือนไม่อยากจะหายใจ ซึ่งจากปัญหาเล็กๆที่เรามองข้ามอาจสะสมให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ (Intercostal muscle) มากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว ทำให้เราเป็นคนนอนมากแต่เพลีย นอนมากเท่าไหร่ก็ยังไม่รู้สึกพอตื่นขึ้นด้วยอาการเพลียเหมือนนอนไม่อิ่ม ง่วงและหาวบ่อยๆ ทั้งที่นอนมาก เป็นต้น อาการเหล่านี้ร่างกายกำลังบอกคุณเป็นนัยว่าคุณอาจมีภาวะกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) ก็เป็นได้ กระดูกสันหลังคด มีกี่แบบ กระดูกสันหลังคดคือความผิดปกติ หรือผิดรูปของกระดูกสันหลัง แบ่งได้สองแบบคือ 1. กระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด (Congenital Scoliosis) การคดเช่นนี้มักเป็นมาตั้งแต่เกิด และส่งผลให้พัฒนาการทางร่างกายมีความผิดปกติร่วมด้วย จะแก้ไขให้กระดูกอยู่ในแนวที่ถูกต้อง 100% ไม่ได้…

ปวดหลัง เพราะอะไร ปัญหาโครงสร้างร่างกาย กระดูกสันหลัง

ปวดหลัง เพราะอะไร (ตอนที่ 6) ปัญหาโครงสร้างร่างกาย กระดูกสันหลัง Part 2

ปวดหลัง เป็นโรคความเสื่อมอย่างหนึ่งของระบบกระดูกกล้ามเนื้อ ซึ่งเราได้พูดทิ้งท้ายไว้ในฉบับที่แล้วถึงต้นเหตุที่แท้จริงของอาการปวดหลังว่ามาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นท่ายืน เดิน นั่ง นอน ที่เรามักไม่ค่อยรู้ว่าตัวเองอยู่ในท่าเหล่านั้นแบบผิดๆจนเคยชิน และก็เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังของคนเรา ปัญหา กระดูกสันหลัง  กระดูกสันหลังเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก เพราะเป็นเสาหลักของร่างกายในการพยุงให้อวัยวะภายในต่างๆ ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและทำงานได้เต็มประสิทธิภาพกระดูกสันหลังห่อหุ้มไขสันหลังซึ่งเป็นตัวถ่ายทอดคำสั่งจากสมองไปสู่ส่วนต่างๆ โดยแตกเป็นเส้นประสาทออกมาตามรูข้างกระดูกสันหลังโยงยาวไปตลอดร่างกาย เพื่อสั่งการให้เราได้รับรู้ความรู้สึกต่างๆทั้งจากภายนอก/ภายใน ให้เราเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างสะดวกคล่องแคล่ว การทำงานทั้งหมดนี้เป็นคำสั่งจากสมองส่งผ่านมาตามไขสันหลังและเส้นประสาท กระดูกสันหลังจึงเหมือนบอดี้การ์ดผู้แข็งแกร่ง ที่คอยป้องกันภัยอันตรายอันจะเกิดขึ้นกับระบบสำคัญของร่างกาย นั่นก็คือ ไขสันหลังและเส้นประสาทนั่นเอง ระบบโครงสร้างร่างกาย ไม่ใช่มีเพียงกระดูก แต่ยังรวมไปถึงกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ เส้นประสาท ระบบเลือด ระบบน้ำเหลือง ประกอบกันขึ้นเป็นโครงสร้างร่างกาย แต่อย่างไรก็ขอยกความสำคัญให้กับกระดูกสันหลังเป็นพิเศษ เพราะระบบโครงสร้างร่างกายจะสมดุลหรือไม่สมดุล ขึ้นอยู่กับกระดูกสันหลังนี่เอง หากกระดูกสันหลังเปลี่ยนแปลงไป ไม่เรียงตัวอยู่ในความโค้งที่เหมาะสม จะทำให้เกิดปัญหาผิดปกติกับ โครงสร้างร่างกายทันที อาการปวดหลัง อาการปวดหลัง ถือว่าเป็นหนึ่งในสัญญาณที่เป็นเสียงเตือนจากร่างกายเสียงหนึ่ง ที่อาการปวดมันได้เตือนคุณแล้วว่า คุณควรต้องเริ่มดูแลตัวเอง หรือต้องเริ่มหันมามองสิ่งที่ร่างกายกำลังบอกคุณก่อนที่จะลุกลามไปมากกว่านี้ บางท่านปล่อยให้อาการปวดเรื้อรังไปเรื่อยๆ ไม่ใส่ใจแม้เพียงปวดเมื่อยเล็กน้อยและเป็นบ่อยครั้ง จนผลกระทบอาจลุกลามไปถึงเส้นประสาทที่ออกมาจากกระดูกสันหลัง ทำให้นอกจากการปวดหลังแล้ว จะเริ่มมีอาการ… ปวดลามไปถึงบริเวณก้นกบ ปวดร้าวหลังตามแนวเข็มขัด ปวดร้าวลงสะโพก ปวดร้าวลงขาหรือมีอาการชาปลายเท้าเมื่อเดินมากๆเหมือนเข่าจะทรุดและไม่มีแรงเดินต่อ เมื่อนั่งมากๆหรือเดินมากๆ อาการปวดหลังจะมากกว่าปกติ และที่น่ากลัวในบางรายปล่อยไว้จนทำให้กระทบถึงการทำงานของอวัยวะในช่องท้อง…