ปวดคอ ปวดไหล่ ไหล่ติด เล่นมือถือนาน

เตือนภัย ปวดคอ ปวดไหล่ ไหล่ติด สาเหตุและอาการ ป้องกันและรักษา สัญญาณเตือนจากร่างกาย (ตอนที่ 22)

ปวดคอ ปวดไหล่ ไหล่ติด สาเหตุและอาการ นี่คือการส่งสัญญาณเตือนจากร่างกายแล้วว่า เราใช้งานหนักเกินไป ไม่ก็มีจากปัจจัยอื่นๆ ซึ่งอาจส่งผลเสียแบบเรื้อรังในระยะยาวก็ได้ ดังนั้นเรามาลองดูกันว่า จะป้องกันและรักษา ดูแลร่างกายของเราอย่างไรดี ฉบับนี้ผู้เขียนมีเรื่องราวของกรณีศึกษาอีกเคสหนึ่งมาแบ่งปันให้ท่านผู้อ่านได้ติดตามกันค่ะ เคยได้ยินไหมคะว่า โรคภัยไข้เจ็บของคนในยุคปัจจุบันนี้มักมากับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี่ต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วสิ่งใดๆ ในโลก แม้มีประโยชน์ หากใช้ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกทาง มักก่อให้เกิดโทษมหันต์ เฉกเช่นเดียวกับเทคโนโลยี่อันล้ำยุคในปัจจุบันที่เรียกกันว่ายุคของ Social media ผู้คนติดต่อสื่อสารกันผ่านโลกอินเตอร์เน็ต ติดสมาร์ทโฟน ติดแทปเลท ติด ipad iphone หันไปทางไหนก็เห็นคนก้มมองจอตลอดเวลา ผู้คนสื่อสารกันแบบไม่ต้องเห็นหน้า ไม่ต้องสบตา พิมพ์ตัวอักษรผ่านเครื่องมือซึ่งมีขนาดเล็ก หากลองหลับตานึกภาพก็จะเห็นท่าทางของผู้คนที่ก้มคอ คางยื่น หลังค่อม ไหล่งุ้ม ตัวงอมาด้านหน้า ฯลฯ อยากจะบอกท่านผู้อ่านว่าท่าทางทั้งหมดนั้นส่งผลเสียต่อโครงสร้างร่างกายมากๆ เลยค่ะ ปวดคอ ปวดไหล่ ไหล่ติด เล่นมือถือนาน สำหรับฉบับนี้เป็นเรื่องราวของคนไข้อายุ 67 ปีที่ติดเล่นเกมส์ในสมาร์ทโฟน ท่านอ่านแล้วอาจอมยิ้มได้นะคะ ผู้เขียนไม่ได้เขียนผิดค่ะ ท่านแจ้งว่าท่านเกษียณนานแล้ว อยู่บ้านเฉยๆ ลูกเลยซื้อสมาร์ทโฟนให้ ท่านบอกว่าท่านติดเกมส์ชนิดหนึ่งซึ่งดูเหมือนใครๆก็ติดเกมส์ชนิดนี้ เกมส์นี้เป็นการเล่นที่ต้องใช้นิ้วและข้อมือทั้งสองข้างในการทำงานค้างไว้ตลอด…

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกเคลื่อนทับเส้น

เตือนภัย หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกเคลื่อน ดูอาการและการป้องกัน (ตอนที่ 21)

เคสนี้มาด้วยอาการปวดและเสียวที่หลังช่วงบั้นเอว ปวดแบบแปล๊บๆ ทุกครั้งที่มีการขยับตัวเปลี่ยนท่า และที่รุนแรงกว่านั้นคือ ทุกครั้งที่มีการลุกขึ้นยืนจะรู้สึกปวดร้าวไปตามด้านหลังเยื้องไปด้านข้างขาตลอดแนวจนถึงปลายเท้า ร่วมกับมีอาการชาด้วยค่ะ อาการดังกล่าวมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อต้องเดินหรือยืนต่อเนื่องเพียงแค่ 5 – 10 นาทีก็จะรู้สึกปวดมาก

ปวดเมื่อย เสี่ยงอัมพาต

ปวดเมื่อยไม่หาย เสี่ยงภัยอัมพาต เสียงเตือนจากร่างกาย (ตอนที่ 20)

ปวดเมื่อยไม่หาย เสี่ยงภัยอัมพาต เสียงเตือนจากร่างกาย ที่ควรต้องระวัง ซึ่งจากสถานการณ์ต่างๆ ของปีนี้ หลายท่านคงประสบกับมรสุมหลายระลอกที่เป็นปัญหาคอยรบกวนจิตใจไม่น้อย ท่านคงเคยได้ยินคำโบราณที่ว่าไว้ จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว เป็นคำกล่าวที่เป็นจริงที่สุดเลยใช่ไหมคะ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่จิตใจของคนเราอ่อนแอลง ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุที่มาจาก ปัญหาเรื่องธุรกิจการงาน ปัญหากับเพื่อนร่วมงาน ปัญหาครอบครัว ปัญหาส่วนตัว ฯลฯ ทั้งหมดนี้ก็มักส่งผลกับร่างกายด้วยเสมอ ที่เจอได้บ่อยๆ และเป็นคำบ่นติดปากนั่นก็คือ ปวดหัว ปวดกระบอกตา ปวดคอ ปวดบ่า ปวดสะบัก บางรายมีอาการปวดท้อง ปวดหลัง ปวดเมื่อย ไปทั้งตัว ทั้งที่ร่างกายก็ไม่ได้ทำอะไรหักโหม ไม่ได้ทำงานแบกหามอะไรนัก ปวดเมื่อย เสี่ยงอัมพาต จากหลายเคสที่มาปรึกษาผู้เขียน พบว่ามีอาการปวดเรื้อรังมาเป็นสิบๆ ปี เมื่อวิเคราะห์จากลักษณะงานที่ทำ หลังซักประวัติแล้ว ก็ไม่พบว่ากิจวัตรใดจะเป็นต้นเหตุของอาการ แต่เมื่อได้พูดคุยจึงทราบว่ามีภาวะความเครียด ซึ่งส่งผลกับอาการปวดที่เป็นอยู่ค่อนข้างมาก หลายท่านปฏิเสธว่าตนไม่มีความเครียดเลย ทั้งที่ความเครียดนั้นสะสมมานานจนส่งผลต่อระบบภายในร่างกายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นความสมดุลของระดับฮอร์โมน การทำงานของอวัยวะต่างๆ รวมไปถึงระบบโครงสร้างร่างกาย ซึ่งส่วนที่มีผลเกี่ยวข้องโดยตรงคือ กล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ที่อยู่รอบคอและท้ายทอย กล้ามเนื้อส่วนนี้มีเส้นประสาทและหลอดเลือดที่สำคัญผ่านไปเลี้ยงสมอง ถ้ากล้ามเนื้อเหล่านี้มีการเกร็งไม่ยืดหยุ่น การไหลเวียนของเลือดก็จะถูกจำกัดลง เป็นผลให้มีอาการต่างๆ ซึ่งท่านเองก็อาจไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วสาเหตุมาจากความเครียดเรื้อรังนั่นเอง อาการที่พบได้บ่อยเช่น…

เล่นมือถือ ปวดมือ ปวดแขน มือชา

เล่นมือถือ ปวดมือ ปวดแขน มือชา ร่างกายเตือนภัยจากการติดสมาร์ทโฟน (ตอนที่ 19)

เล่นมือถือ ปวดมือ ปวดแขน มือชา ถ้ามีอาการเหล่านี้ แสดงว่าร่างกายกำลังส่งสัญญาณเตือนภัยจากการใช้ชีวิตประจำวันแล้วค่ะ โดยเฉพาะอาการที่เรียกว่า “ติดสมาร์ทโฟน” เล่นมือถือ ปวดมือ ปวดคอ ระวัง ต้องยอมรับว่าในโลกยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้ามากในด้านการสื่อสารแบบไร้สาย ผู้คนต่างมีโลกส่วนตัวอยู่กับเครื่องมือสื่อสารของตน มองไปทางไหนก็ต่างก้มหน้าก้มตามองมือถือซึ่งมีแอฟพลิเคชั่นรองรับความต้องการของคนทุกเพศทุกวัย ผู้คนพูดคุยกันน้อยลง บ้างหัวเราะ บ้างทำหน้าเศร้า บ้างกำลังเมามัน มีอารมณ์ร่วมอยู่กับจอเล็กๆบนมือของตน เป็นยุคที่ผู้คนกำลังถูกมอมเมาด้วยภาพและเสียงที่มาล่อตาล่อใจ จะมีสักกี่คนที่สนใจกับร่างกายว่า ตอนที่กำลังเพลิดเพลินอยู่นั้น เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายบ้าง เกือบทั้งหมดจะรู้สึกตัวก็ต่อเมื่อเงยหน้าขึ้นจากจอเล็กๆ ในมือ นั่นแหละ หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่เป็นโรคติดสมาร์ทโฟน ท่านคงจะได้รับเสียงเตือนจากร่างกายของท่านบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดเมื่อยบ่า ก้านคอ สะบัก ปวดข้อศอก ปวดแขน นิ้วล็อค มือชา มือไม่มีแรง ปวดฝ่ามือ มือแข็ง เวลาใช้แรงกำหรือหยิบของ จะรู้สึกกำได้ไม่ถนัด และแม้แต่อาการมึนๆ ตึงๆ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ตาพล่ามัว หาวนอนบ่อยๆ หายใจไม่อิ่ม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้คือ เสียงจากร่างกายที่เตือนท่านอยู่บ่อยๆ มีต้นตอจากการเล่นเกมส์ การเพลิดเพลินไปกับโรคออนไลน์ สื่อสารแบบต้องพิมพ์ถึงกัน ด้วยการใช้สมาร์ทโฟนนั่นเอง…

ระวังสุขภาพ ในการเดินทาง ภัยจากการเดินทาง

ระวังสุขภาพ เตือนภัยจากการเดินทาง 2 (ตอนที่ 18)

ระวังสุขภาพ เตือนภัยจากการเดินทาง ถึงวันนี้ หลายท่านคงมีโปรแกรมเดินทางในวันหยุดยาวช่วงปีใหม่แล้วใช่ไหมคะ ฉบับก่อนเราได้ทราบกันแล้วว่า เมื่อต้องเดินทาง ไม่ว่าจะโดยทางรถ หรือเครื่องบิน การเดินทางแต่ละครั้งต้องใช้เวลาทั้งนั้น ในฉบับนี้เราจะมาทราบกันค่ะว่าการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะเดินทางเราต้องเริ่มต้นอย่างไรบ้าง สิ่งสำคัญที่สุดคือการเตรียมร่างกายให้พร้อม เพื่อจะได้คล่องตัว ไม่ปวดไม่เมื่อย เมื่อเวลาต้องอยู่ในท่านั่ง นานต่อเนื่องหลายๆ ชั่วโมง ระวังสุขภาพ เตือนภัยจากการเดินทาง เริ่มต้นด้วยการตรวจเช็คระบบโครงสร้างร่างกายกันก่อนเลยค่ะ โดยการสังเกตจากตัวท่านในการใช้ชีวิตประจำวันนี่แหละ หากท่านใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปตามปกติ แต่รู้สึกว่าร่างกายไม่คล่องตัว ไม่กระปรี้กระเปร่า รู้สึกติดขัด ไม่ยืดหยุ่น เมื่อยล้าทั้งตัว ยิ่งตอนตื่นนอนเช้าๆ ท่านอาจรู้สึกมึนๆ ตึงๆ หัว ไม่สดชื่น หรือสังเกตตอนเลิกงานก็ได้ค่ะ ถ้ารู้สึกได้ว่าปวดบ่าปวดคอ ปวดเมื่อยในร่างกาย ร่างกายล้าๆ นอนมากหรือพักมากแต่ก็ยังรู้สึกง่วงอยู่ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นตัวเช็คร่างกายที่ดีมากค่ะ เพราะในทางธรรมชาติบำบัด ถือเป็น “สัญญาณเตือน” เพื่อให้เราทราบว่า เราเริ่มมีปัญหาใดในร่างกาย จะได้เริ่มแก้ไขทัน และหากท่านมีอาการเหล่านี้ ก็บอกได้ว่าระบบการทำงานของกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ การไหลเวียนของเลือด น้ำเหลือง การขับของเสียต่างๆ ทำงานด้อยประสิทธิภาพลง ทำให้ของเสียคั่งตามกล้ามเนื้อ ตามข้อต่อและระบบเลือด อาการที่เป็นจึงเป็นตัวบอกได้ดีว่าภายในร่างกายเกิดความบกพร่องอยู่ ถ้าสภาพร่างกายเป็นเช่นนี้และต้องเดินทางไกล…

ระวังสุขภาพ ในการเดินทาง ภัยจากการเดินทาง

ระวังสุขภาพ ในการเดินทาง เสียงเตือนภัยจากร่างกาย 1 (ตอนที่ 17)

ระวังสุขภาพ ในการเดินทาง เผลอแปล๊บเดียวจะสิ้นปีอีกแล้วนะคะท่านผู้อ่าน เหมือนพึ่งจัดงานปีใหม่ไปไม่นาน แต่หลายท่านก็เตรียมตัวเตรียมใจต้อนรับปีใหม่อีกปีแล้ว และสิ่งหนึ่งที่ช่วงเทศกาลปีใหม่จะคึกคักเป็นพิเศษ นั่นคือการได้หยุดงานต่อเนื่องหลายวัน (สำหรับบางท่านที่ไม่ได้หยุดก็ถือซะว่ากรุงเทพฯช่วงนี้น่าอยู่ที่สุดค่ะ คนไม่มาก รถก็ไม่ติด) หลายท่านก็คงมีโปรแกรมวางแผนจะเดินทางกันแล้วใช่ไหมล่ะคะ อาจต้องกลับต่างจังหวัด วางแผนไปเที่ยวไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศ ต่างก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจกันไว้แล้วนะคะ แต่สิ่งหนึ่งที่หลายท่านมักลืมหรือมองข้ามไป นอกเหนือจากการเตรียมสัมภาระ หรือตั๋วสำหรับการเดินทางนั่นก็คือ “ร่างกายของตนเอง” ระวังสุขภาพ ในการเดินทาง หากท่านจดจำการเดินทางในแต่ละครั้งได้ไม่ว่าจะเป็นโดยเครื่องบิน เรือ รถไฟ รถทัวร์ รถส่วนตัว (ทั้งขับรถเองหรือมีคนขับรถให้) ไม่ว่าจะภายในประเทศหรือต่างประเทศ ฯลฯ ท่านจำได้ไหมคะว่าในการเดินทางแต่ละครั้งร่างกายท่านส่งเสียงใดบอกท่านหรือเปล่า? หากถามอาการทันที เพียงแค่นึกหลายท่านตอบได้ทันทีว่า เมื่อย อาการเมื่อยคือ อาการที่ไม่สบายเนื้อตัว รู้สึกฝืดๆ ตัวไปหมด ไม่คล่อง อาการนี้ถือเป็นธรรมดาที่ร่างกายส่งเสียงบอกเราว่าเพราะการเดินทางนั้น ซึ่งไม่เพียงแต่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวจึงทำให้เกิดอาการเมื่อย แต่ที่มากกว่านั้นแล้วเราไม่รู้ตัว คือแรงกระชากในการเคลื่อนตัวของความเร็วของสิ่งที่เราโดยสารอยู่ ซึ่งเป็นแรงที่ร่างกายต้องเกร็งกล้ามเนื้อแนวกระดูกสันหลังชั้นลึกตลอดเวลาโดยที่เราไม่รู้สึกตัว ฯลฯ (ความรู้สึกตัวนี้จะเกิดขึ้นได้ถ้าเราเข้าใจโครงสร้างร่างกาย และออกกำลังกล้ามเนื้อ มัดลึกเป็น พร้อมการฝึกความรู้สึกตัว) จากที่กล่าวมาหลายท่านพักสักวันอาการก็ดีขึ้น แต่หากท่านใดมีประสบการณ์จากการเดินทางที่ร่างกายรู้สึกย่ำแย่ ไม่เพียงแค่อาการเมื่อยธรรมดาอย่างที่กล่าว แต่เสียงของร่างกายที่บอกจากการเดินทางมันมีมากมายกว่านั้นมาก ระวังสุขภาพ ในการเดินทาง ปวดเมื่อยหลัง ขอยกตัวอย่างอาการต่างๆ ที่เป็นเสียงเตือนของร่างกาย…

ปวดกราม ขากรรไกร ฟันไม่สบกัน นอนกัดฟัน

ปวดกราม ขากรรไกร ฟันไม่สบกัน นอนกัดฟัน สาเหตุจากอะไร (ตอนที่ 16)

ปวดกราม ขากรรไกร ฟันไม่สบกัน นอนกัดฟัน สาเหตุจากอะไร มารู้จักอาการนี้ให้มากขึ้นค่ะ เพราะเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายกว่าที่คิด ฉบับที่แล้วเราได้พูดถึงอาการปวดขมับ ปวดกระบอกตา ที่มาจากสาเหตุของแนวกระดูกบิดหมุน ฉบับนี้ขอพูดถึงเสียงเตือนที่จะบอกการเปลี่ยนไปของร่างกาย ซึ่งอาจคล้ายกับอาการที่พูดถึงในฉบับที่แล้ว และเป็นความเชื่อมโยงจากอาการปวดขมับหรือกระบอกตา อาการดังกล่าวนี้บางท่านคาดไม่ถึงว่าจะมีความเชื่อมโยงหรือส่งผลได้นั่นคืออาการ ปวดขากรรไกร หรือในทางการแพทย์เรียกว่า Temporomandibular joint dysfunction นั่นเอง ปวดกราม ขากรรไกร อาการ เสียงใดบ้างที่ร่างกายกำลังบอกเล่าให้เราฟัง ขอยกตัวอย่างคร่าวๆ ดังนี้ค่ะ ตื่นมารู้สึกปวดขากรรไกร ปวดบริเวณกราม เมื่อยๆ ขากรรไกร บริเวณแก้ม หรือบริเวณด้านหน้ากกหู ไม่สบายหัว ปวดแบบตื้อๆ ชาๆ ตรงแก้ม – ขมับ มึนๆ ตึงๆ ทั้งศีรษะ แก้มและข้างๆใบหู อาจรู้สึกล้าๆ ตา หรือ หูอื้อๆ บางท่านรู้สึกเหมือนเมื่อยๆ หน้า ขยับหน้าเช่นยิ้มหรือหัวเราะก็จะรู้สึกตึงรั้งไปทั้งใบหน้า และศีรษะ แก้มด้านที่เป็นจะรู้สึกบวมๆ มากกว่าอีกด้าน ทั้งนี้อาจเป็นได้ทั้งสองด้าน เวลาอ้าปากกว้างๆ จะรู้สึกถูกจำกัด…

ปวดกระบอกตา มึนศีรษะ ปวดขมับ

ปวดกระบอกตา มึนศีรษะ ปวดขมับ สาเหตุจากอะไร (ตอนที่ 15)

ปวดกระบอกตา มึนศีรษะ ปวดขมับ สาเหตุจากอะไร นี่เป็นอาการที่พบบ่อยในคนยุคปัจจุบัน มาเรียนรู้อาการนี้กันมากขึ้นค่ะ สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ สำหรับฉบับนี้ผู้เขียนมีประสบการณ์เกี่ยวกับเคสที่น่าสนใจเคสหนึ่ง ที่อยากจะเล่าให้ท่านฟัง เป็นเรื่องที่น่าตกใจมากค่ะเพราะเคสที่มาพบผู้เขียนนั้นอายุเพียง 21 ปี พึ่งเรียนจบและยังไม่ได้ทำงาน แต่เสียงของร่างกายเคสนี้ก็บอกความบกพร่องในร่างกายของเขามากมาย ซึ่งในทางธรรมชาติบำบัดถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมากเลยค่ะ ขออนุญาตเล่าให้ฟังคร่าวๆนะคะ ปวดกระบอกตา มึนศีรษะ ปวดขมับ อาการ มีเคสที่มาด้วยอาการปวดกระบอกตา และปวดขมับ มึนศีรษะเรื้อรัง เป็นมานานกว่า 2 ปีแล้ว ปวดตลอดเวลา จะมากเวลาที่ต้องหอบหิ้วของหนัก หรือ ต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่งอ่านหนังสือ ไปพบแพทย์ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ได้รับการรักษาด้วยการทานยามาตลอด เคสเล่าว่าในช่วง 2 – 3 เดือนแรกๆ อาการก็ดีขึ้น แต่หลังๆทานยาเพิ่มปริมาณขึ้น อาการก็ไม่ดีขึ้น แพทย์ส่งเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์สมอง (Magnetic resonance imaging / MRI ) แต่ก็ไม่พบความผิดปกติใดๆ เคสจึงต้องบรรเทาอาการที่ตนเป็นด้วยการทานยามาตลอด ซึ่งอาการตอนนี้จากการทานยาต่อเนื่องนานทำให้ต้องเป็นโรคกระเพาะอาหารตามมา และมีอาการหายใจขัดๆ ร่วมกับการเป็นภูมิแพ้อากาศบ่อยๆ…

จุกแน่นหน้าอก เสียดในใต้ชายโครง

จุกแน่นหน้าอก เสียดในใต้ชายโครง กล้ามเนื้อมัดลึกที่ควรรู้ (ตอนที่ 14)

จุกแน่นหน้าอก เสียดในใต้ชายโครง สาเหตุจากอะไร เรื่องของ กล้ามเนื้อมัดลึก ภัยเงียบที่มักเกิดจากชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ กว่าจะรู้ตัวก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ จุกแน่นหน้าอก เสียดในใต้ชายโครง คืออะไร เสียงเตือนจากร่างกายฉบับนี้ ผู้เขียนเองได้รับฟังเสียงจากร่างกายหลายๆท่านที่มักจะมาด้วยปัญหาเหมือนๆกัน เลยทำให้นึกได้ว่า คงมีผู้ที่มีอาการเช่นนี้จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ในสังคมยุคที่ต้องเร่งรีบ ทุ่มเทให้การทำงานจนลืมร่างกาย และเกือบทั้งหมดของผู้ที่มีอาการเหล่านี้ได้ผ่านการพบแพทย์ที่โรงพยาบาลแล้ว ได้ถูกส่งให้ตรวจเช็คการทำงานของหัวใจ (EKG) ตรวจเช็คการทำงานของปอด (Chest X-Ray) หลายท่านได้ตรวจเช็คด้วย MRI ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่ทั้งหมดที่ได้รับการตรวจก็ไม่อาจตอบโจทย์ของหลายๆท่านที่มีปัญหานี้ได้ เพราะผลคือไม่พบความผิดปกติใดๆ เสียงเตือนจากร่างกายที่จะกล่าวในรอบนี้ก็คือ อาการจุก เสียด แน่น เจ็บในอกใต้ชายโครง หายใจไม่อิ่ม บางครั้ง ที่ต้องเคลื่อนไหวลำตัว ยกของหนัก หรือบิดลำตัวจะรู้สึกเสียวแปล๊บอยู่ในใต้ชายโครง ลึก ๆ ซึ่งหลายท่านบอกไม่ถูกว่าตำแหน่งไหน ทราบเพียงว่ามันลึกอยู่ในใต้ชายโครง หรือแน่นในอก อยู่ใต้สะบัก บางท่านเมื่อหายใจลึกจะรู้สึกเสียว เจ็บลึกๆ บางท่านก็บอกว่าเจ็บจี๊ดๆ อยู่ลึกๆด้านใน เหมือนมีวัตถุแหลมๆ ทิ่มอยู่ด้านใน บ้างก็บอกว่าซ่าๆ ชาๆ รู้สึกอึดอัดแน่นๆในอก หายใจได้ไม่สุด จุกแน่นหน้าอก เสียดในใต้ชายโครง…