จุกแน่นหน้าอก เสียดในใต้ชายโครง สาเหตุจากอะไร เรื่องของ กล้ามเนื้อมัดลึก ภัยเงียบที่มักเกิดจากชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ กว่าจะรู้ตัวก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
จุกแน่นหน้าอก เสียดในใต้ชายโครง คืออะไร
เสียงเตือนจากร่างกายฉบับนี้ ผู้เขียนเองได้รับฟังเสียงจากร่างกายหลายๆท่านที่มักจะมาด้วยปัญหาเหมือนๆกัน เลยทำให้นึกได้ว่า คงมีผู้ที่มีอาการเช่นนี้จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ในสังคมยุคที่ต้องเร่งรีบ ทุ่มเทให้การทำงานจนลืมร่างกาย และเกือบทั้งหมดของผู้ที่มีอาการเหล่านี้ได้ผ่านการพบแพทย์ที่โรงพยาบาลแล้ว ได้ถูกส่งให้ตรวจเช็คการทำงานของหัวใจ (EKG) ตรวจเช็คการทำงานของปอด (Chest X-Ray) หลายท่านได้ตรวจเช็คด้วย MRI ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่ทั้งหมดที่ได้รับการตรวจก็ไม่อาจตอบโจทย์ของหลายๆท่านที่มีปัญหานี้ได้ เพราะผลคือไม่พบความผิดปกติใดๆ
เสียงเตือนจากร่างกายที่จะกล่าวในรอบนี้ก็คือ อาการจุก เสียด แน่น เจ็บในอกใต้ชายโครง หายใจไม่อิ่ม บางครั้ง ที่ต้องเคลื่อนไหวลำตัว ยกของหนัก หรือบิดลำตัวจะรู้สึกเสียวแปล๊บอยู่ในใต้ชายโครง ลึก ๆ ซึ่งหลายท่านบอกไม่ถูกว่าตำแหน่งไหน ทราบเพียงว่ามันลึกอยู่ในใต้ชายโครง หรือแน่นในอก อยู่ใต้สะบัก บางท่านเมื่อหายใจลึกจะรู้สึกเสียว เจ็บลึกๆ บางท่านก็บอกว่าเจ็บจี๊ดๆ อยู่ลึกๆด้านใน เหมือนมีวัตถุแหลมๆ ทิ่มอยู่ด้านใน บ้างก็บอกว่าซ่าๆ ชาๆ รู้สึกอึดอัดแน่นๆในอก หายใจได้ไม่สุด
จุกแน่นหน้าอก เสียดในใต้ชายโครง อาการ
อันที่จริงแล้วอาการเหล่านี้ที่หลายท่านประสบอยู่ อาจเป็นเพียงกลุ่มอาการอย่างหนึ่งของความไม่สมดุลของระบบโครงสร้างร่างกาย นั่นคือการ การเกร็งตัวค้าง/การมีก้อนพังผืด (Muscle holding/Trigger point) ของกล้ามเนื้อมัดลึกที่ติดกับแนวกระดูกชายโครง (Internal – External intercostals muscle, Transversus thoracis muscle Serratus superior posterior muscle, Anterior scalene muscle ) ซึ่งกล้ามเนื้อเหล่านี้เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กๆที่อยู่ลึกมาก เมื่อได้รับการบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเกิดจากท่าทางที่ผิดมานาน เกิดจากการกระชาก การยกของหนัก การบิดลำตัวหรือการยืดกล้ามเนื้อมากเกินไป การออกกำลังกายที่เกินกำลังกล้ามเนื้อ แต่ยังฝืนเพื่อออกแรง ตัวอย่างเช่น การเล่นน้ำหนักที่หนักเกิน การสวิงตัวตีกอล์ฟ เป็นต้น
ถึงแม้ว่ากล้ามเนื้อเหล่านี้ไม่ได้ออกแรงโดยตรงก็จริง แต่หากต้องยกของหนักหรือยกผิดท่า ใช้แรงหนักมากเกินกำลังที่กล้ามเนื้อมัดใหญ่(มัดนอก) จะรับไหว ร่างกายจึงเกิดการทดแทนโดยดึงเอากล้ามเนื้อเล็กๆเหล่านี้มาใช้ ซึ่งหน้าที่หลักของกล้ามเนื้อมัดเล็กจะช่วยในการหายใจ ดังนั้นเมื่อทำงานเกินหน้าที่จึงเกิดการบาดเจ็บ เกิดการเกร็งตัว และถ้าดูแลไม่ถูกจุดก็จะกลายเป็นจุดกดเจ็บ เป็นก้อนพังผืด รบกวนหน้าที่หลักที่ช่วยในการหายใจ ในขณะที่ยังต้องหายใจอยู่ตลอดเวลา อาการก็จะรบกวนขึ้นเรื่อยๆ เหมือนคนเจ็บที่ต้องทำงานโดยไม่ได้พักผ่อน และถ้ายังต้องอยู่ในท่าเดิมที่ผิดๆต่อเนื่องนาน ต้องยืดกล้ามเนื้อมากไป ต้องยกของ กระชากตัว อาการเหล่านี้ก็จะยิ่งชัดเจนมากขึ้น
อาการดังกล่าวทำให้หลายท่านนึกถึงโรคหัวใจ ซึ่งลักษณะของอาการอาจคล้ายๆ กัน จึงทำให้ต้องไปตรวจร่างกายเพื่อหาว่าตนเองเป็นโรคอะไร แต่ก็ไม่เจอ ในที่สุดก็ทำให้ปัญหาดังกล่าวเรื้อรัง สร้างความรำคาญใจให้กับตนเอง จากที่เจ็บปวดเพียงร่างกาย กลับต้องมาหงุดหงิดใจ และเป็นต้นเหตุที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ก่อนอื่นเพื่อให้ท่านได้ฟังเสียงเตือนจากร่างกายได้ด้วยตนเอง โดยวิเคราะห์อาการเบื้องต้นก่อนที่จะเสียเงินในการตรวจร่างกาย เพราะอาการที่กล่าวมา ดูผิวเผินเหมือนกับเป็นโรคหัวใจก็จริงอยู่ แต่จากประวัติของความเจ็บปวดตัวเราเองจะเป็นผู้รู้ดีที่สุด เพราะเมื่อไปพบแพทย์ แพทย์ก็ต้องถามย้อนถึงอาการที่เป็นอยู่ดี ถ้าเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจอาการสำคัญมีดังนี้
- จะมีอาการหอบเหนื่อยง่าย โดยจะเหนื่อยจากการทำกิจกรรมทั่วไป ซึ่งไม่ควรที่จะทำให้เหนื่อยง่าย
- เวลานอนราบอาการจะมากขึ้น เนื่องจากท่านอนราบ จะทำให้เลือดที่อยู่ในท้องและขา ไหลมาที่หน้าอก ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดส่วนที่เพิ่มขึ้นมาได้ จึงเกิดอาการหอบเหนื่อย
- มีการหอบเหนื่อยตอนกลางคืน หรือขณะพัก
โดยปกติแล้วเซลล์ในร่างกายของคนเราได้รับสารอาหารต่างๆรวมกับออกซิเจน ลำเลียงไปกับน้ำเลือด โดยไหลไปตามเส้นเลือดที่เสมือนท่อผ่านเข้าไปในทุกส่วนของร่างกาย ในขณะเดียวกันของเสียต่างๆที่อยู่ในร่างกาย จะต้องถูกขับทิ้งผ่านตามหลอดเลือดดำและระบบน้ำเหลือง ซึ่งถ้าหลอดเลือดเหล่านี้มีการไหลเวียนดีไม่ติดขัด ระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย ก็จะเป็นปกติ นั่นคือไม่ว่าจะเป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญของร่างกาย สารพิษ หรือแม้แต่เชื้อโรค ก็จะถูกขับออกนอกร่างกายด้วยกระบวนการดังกล่าว
อาการส่วนใหญ่คือ จะรู้สึกแน่นๆ หนักๆ บนอก เหมือนมีของหนักวางทับอยู่ และหัวใจจะเต้นเร็วกว่าปกติ อึดอัดมากหายใจไม่เต็มอิ่ม อาจปวดร้าวไปที่แขนซ้ายหรือร้าวขึ้นคอ กรามและกกหู ฯลฯ
จะเห็นได้ว่าอาการของโรคหัวใจจะคล้ายและใกล้เคียงอาการของกล้ามเนื้อมัดลึกมาก แต่มีสิ่งหนึ่งที่เห็นได้แตกต่างอย่างชัดเจนนั่นคือ หากเป็นเกี่ยวกับโรคหัวใจจะมีอาการขณะพัก แต่หากเป็นระบบกล้ามเนื้อมัดลึกอาการมักชัดเจนเมื่อต้องออกแรง หรือต้องขยับตัว บิดตัว และจะรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้นอนพัก เพราะกล้ามเนื้อไม่ต้องทำงาน ขณะที่ถ้าเป็นเกี่ยวกับหัวใจพักอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น ฯลฯ
ถ้าท่านตอบตนเองได้แล้วว่าคงเป็นเรื่องระบบกล้ามเนื้อ ก็ควรเลือกแนวทางในการดูแลที่ถูกต้อง การปรับโครงสร้างร่างกาย เป็นอีกวีหนึ่งที่จะช่วยให้หายขาดจากอาการที่เป็น เพราะไม่เพียงจัดการถึงต้นเหตุที่เป็น แต่ยังเป็นการวิเคราะห์ ความเชื่อมโยงทั้งระบบกระดูก กล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวของข้อต่อ หรือแม้แต่ระบบเลือดและระบบประสาทที่ไปควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเหล่านั้นด้วย และที่สำคัญคือ เมื่อหายจากอาการเหล่านั้นแล้วจะไม่กลับมาเป็นอีก เพราะการปรับโครงสร้างร่างกาย เป็นการสร้างความแข็งแรง ทนทาน และความยืดหยุ่นให้กับโครงสร้างทั้งร่างกาย เพื่อการใช้งานร่างกาย ได้เต็มศักยภาพ อาการที่เป็นจึงไม่กลับมารบกวนอีก
เห็นไหมคะว่า เสียงเตือนจากร่างกาย วิเศษขนาดไหน เพียงท่านต้องหัดฟังเขาให้มากขึ้น ก็จะตอบตนเองได้ว่าเป็นอะไร ในบางกรณีเราควรจะพึ่งศักยภาพของตัวเองก่อนที่จะเอาสารเคมีหรือสารพิษต่างๆเข้าร่างกาย เพราะแทนที่จะช่วยให้ดีขึ้น กลับเป็นการทำร้ายร่างกายมากขึ้น ลองหยุดสักนิด หลับตาพิจารณาเสียงเตือนจากร่างกาย ที่ต้องการจะบอกเราก่อนตัดสินใจนะคะ พบกันฉบับหน้าค่ะ
ติดตามเรื่องราวเพื่อรู้จักร่างกายและคอยฟังเสียงเตือนจากร่างกายได้ในฉบับต่อไปนะคะ
หากสนใจบริการของเรา สามารถคลิกได้ที่ ariyawellness.com/services/
ช่องทางติดต่อ Inbox ทางเพจ Facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/ariyawellnesscenter