ง่วง เพลีย ล้า นอนมาก หาว

ง่วง เพลีย ล้า นอนมาก…..แต่ง่วงทั้งวัน สาเหตุเพราะอะไร (ตอนที่ 13)

ง่วง เพลีย ล้า นอนมาก หาวแล้วหาวอีก ตาจะปิดอยู่แล้ว รู้สึกหนังตามันหนักๆจะปิดตลอดเวลา ใครที่ชอบมีอาการเป็นเช่นนี้บ้าง? เคยสงสัยหรือไม่ว่าเพราะอะไร ? (โดยเฉพาะคนทำงานออฟฟิศจะเป็นกันบ่อยมาก) ง่วง เพลีย ล้า อาการ หลายท่านคงพยักหน้า เมื่อพูดถึงอาการง่วงๆ เพลียๆ ล้าๆ ก็คงเป็นเรื่องปกติของมนุษย์เรา แต่ถ้าอาการเหล่านี้ ไม่สมเหตุสมผลที่เป็น ก็คงจะไม่ใช่เรื่องปกติอีกต่อไป ขอยกตัวอย่างคนที่มีอาการง่วง-เพลีย-ล้า จากเหตุที่ผิดปกติให้ฟังคร่าวๆ พร้อมตัวอย่างอาการบางอย่างของร่างกายที่ไม่ใช่เรื่องปกติ และอาจจะกลายเป็นความผิดปกติแบบไม่รู้ตัว ดังนี้ นอนเร็ว ตื่นสาย วันหนึ่งนอน 6 – 7 ชั่วโมงก็ยังง่วง ลืมตาขึ้นมาก็ไม่อยากลุกขึ้นจากที่นอน รู้สึกร่างกายมันล้าๆไปหมด พยายามดูแลตัวเองมาสักช่วงหนึ่งแล้ว ใครว่าอะไรดีก็ซื้อมาทาน ออกกำลังกายก็แล้ว นอนมากก็แล้ว แต่ยังล้า และเพลียมากอยู่ รู้สึกตามเนื้อตัวมันล้าๆ เมื่อยๆ ไปหมด ไปนวดก็แล้ว แต่เหมือนร่างกายยังไม่ตื่น หัวตื้อๆ อึนๆ มึนๆ งงๆ ทั้งวัน คิดอะไรไม่ค่อยออก หัวไม่ค่อยแล่น…

อ้วน ลงพุง

อ้วน ลงพุง ทานน้อย คุมอาหารแต่ยังอ้วนอยู่ เบื่อไหม!!! (ตอนที่ 12)

อ้วน ลงพุง คุมอาหารก็แล้ว แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมถึงยังอ้วนพุงพลุ้นอยู่เหมือนเดิม หรือว่าคุมอาหารผิดวิธี แล้วเราจะแก้ปัญหาโลกแตกนี้ได้ยังไงดี??? เราขอแนะนำในบทความนี้ค่ะ อ้วน ลงพุง สาเหตุ มาจากไหน ทั้งสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี หากรู้สึกว่าพุงเริ่มใหญ่ขึ้นๆทุกวัน คงทำให้รำคาญและหงุดหงิดใจไม่น้อย เพราะรูปร่างถือเป็นบุคลิกภาพที่สร้างความมั่นใจและความโดดเด่นให้กับคนเราได้ เกือบทุกคนจึงปรารถนาจะมีรูปร่างที่ดี ในช่วงวัยหนุ่มสาวอาจใช่ แต่เมื่อก้าวเข้าสู่วัยทำงาน บางรายยังไม่ถึงปีก็รู้สึกได้ว่าท้องเริ่มจะสะสมเป็นพุงและเริ่มใหญ่ขึ้นทุกวัน บางคนพยายามทานน้อย ควบคุมอาหาร ขยับร่างกายด้วยการออกกำลังกาย แต่ส่วนหนึ่งของร่างกายที่ยังคงเห็นได้อย่างชัดเจนและไม่ยอมลดนั่นก็คือ “พุง” และจะเห็นว่ามันใหญ่ขึ้นๆจนน่าเกลียด ในบางรายอาจพ่วงอาการทานอาหารแล้วไม่ย่อย แก็สในกระเพาะอาหารมาก ทานผักมากแล้วแต่การขับถ่ายยังไม่ดี ท้องอืดง่าย ลมค้างในกระเพาะอาหาร เลอบ่อยๆฯลฯ บางรายอาจเริ่มมีอาการปวดเมื่อยหลัง เมื่อยคอและสะบัก ตามมา ฯลฯ อาการทั้งหมดนี้เป็นเสียงเตือนจากร่างกายที่พยายามบอกว่าระบบต่างๆ ภายในร่างกายเริ่มแปรปรวน ทำงานไม่เป็นปกติแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นโรค สัญญาณต่างๆ เหล่านี้เป็นระฆังเตือน เพียงแต่เราจะสนใจมากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเอง อ้วน ลงพุง ปัจจัยอะไรบ้าง เมื่อพูดถึงลักษณะของร่างกายที่การเผาผลาญลดลง จึงเป็นผลต่อการมีหน้าท้อง มีพุง ซึ่งต่างก็เป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน ขอยกตัวอย่างเป็นข้อๆดังต่อไปนี้ อายุ ที่เพิ่มมากขึ้นทำให้การเผาผลาญของร่างกายและการทำงานของอวัยวะต่างๆด้อยประสิทธิภาพลง ซึ่งถือเป็นภาวะปกติ เพราะร่างกายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา แต่ที่น่าเป็นห่วงคือเรามักทำให้ร่างกายเสื่อมก่อนวัยอันควร…

ปวดส้นเท้า ฝ่าเท้า รองช้ำ

ปวดส้นเท้า ฝ่าเท้า รองช้ำ แก้ยังไงดี เมื่อเป็นจุดเปราะสุดของเท้า (ตอนที่ 11 )

ปวดส้นเท้า ฝ่าเท้า รองช้ำ แก้ยังไงดี เพราะกล้ามเนื้อน่องนั้น จุดเกาะปลายสุดอยู่ที่ส้นเท้า และส้นเท้าเป็นส่วนเชื่อมต่อกับพังผืดของฝ่าเท้า จึงเป็นส่วนสำคัญของร่างกายกว่าที่คาดคิด สำหรับเมื่อตอนที่แล้ว เราได้พูดกันถึงเสียงเตือนของร่างกายที่บอกถึงอาการปวดน่อง ในตอนนี้จะเป็นความต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว ปวดส้นเท้า ฝ่าเท้า รองช้ำ แก้ยังไงดี โดยในทางกายวิภาคศาสตร์ ระบบกระดูกกล้ามเนื้อหรือระบบโครงสร้างร่างกายนั้น ในแต่ละส่วนจะไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย เพราะการทำงานของแต่ละส่วนต้องอาศัยการทำงานที่ประสานกันแล้วทำให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว ราบเรียบ และเกิดการใช้แรงน้อยที่สุดของร่างกายเพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บหรือใช้แรงมากเกินไป กล้ามเนื้อน่อง จะมีกล้ามเนื้อซึ่งประกอบกันอยู่ทั้งหมด 3 ส่วน (gastrocnemius + soleus muscle / the triceps suraeo / calf muscle) ซึ่งจุดเกาะตอนปลายของทั้ง 3 ส่วนนี้จะไปรวมตัวเกาะอยู่ที่กระดูกส้นเท้า เมื่อมีการยืน การเดิน การเคลื่อนไหวของข้อเท้าทุกครั้ง กล้ามเนื้อมัดนี้จะทำงานตลอดเวลา หากกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงทนทานพอ หรือความยืดหยุ่นไม่ดีพอ จะเกิดการเกร็งตัวค้าง ดังที่กล่าวเมื่อตอนที่แล้วว่าหากปล่อยไว้นานการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อมัดนี้จะเสมือนดึงและกระชากกระดูกส้นเท้าตลอดเวลา จากการที่พังผืดตรงฝ่าเท้า เป็นเหมือนเชือกเชื่อมต่อระหว่างกระดูกส้นเท้า ขึงไปที่กระดูกนิ้วเท้า เพื่อทำหน้าที่ให้โค้งของอุ้งฝ่าเท้าปกติ เป็นตัวกระจายน้ำหนักตัวทั้งหมดเมื่อเราลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้า หากพังผืดอุ้งเท้านี้ถูกกระชากตลอดเวลาจะทำให้เกิดการบาดเจ็บหรืออักเสบเรื้อรังขึ้น และการบาดเจ็บที่บริเวณนี้ การซ่อมแซมของร่างกายจะซ่อมแซมได้ค่อนข้างยาก…

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกเคลื่อนทับเส้น

ปวดหลัง สาเหตุ (ตอนที่ 5) สาเหตุของอาการปวดหลังปวดหลัง Part1 เรื่องที่ควรระวัง

ปวดหลัง สาเหตุ เกิดจากอะไร ทำไมจึงเป็นภัยร้ายที่น่ากลัวเกินกว่าที่คาดคิด เราจึงอยากแนะนำสาเหตุของอาการ ว่ามันเกิดจากอะไร อาการปวดหลังจากภาวะโรคต่างๆ หรืออาการปวดหลังจากระบบกระดูกกล้ามเนื้อ !!!! อยากรู้ไหมคะ..ว่าคุณปวดหลังจากอะไร ? ความสำคัญแผ่นหลัง หลัง จัดว่าเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากแผ่นหลังของเราถือว่าเป็นเสาหลักอันดับต้นๆของร่างกาย ถือว่าเป็นอวัยวะส่วนที่ช่วยในการพยุงร่างกายของเราและเป็นส่วนที่หุ้มไขสันหลังไว้ ซึ่งไขสันหลังเป็นตัวนำคำสั่งต่างๆ จากสมองไปควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด ดังนั้นหากหลังมีความผิดปกติจะส่งผลถึงส่วนอื่นได้ทั้งร่างกาย และอาจจะนำมาซึ่งโรคที่ร้ายแรงได้ ดังนั้นการคอยสังเกตอาการของแผ่นหลัง จึงเป็นเรื่องสำคัญ ถ้ามีอาการปวดแผ่นหลัง (Back Pain) แสดงว่ามันส่งสัญญาเตือนบางอย่างให้กับร่างกายแล้วค่ะ   ปวดหลัง สาเหตุ เกิดจากอะไร สำหรับผู้ที่ได้อ่านซีรีส์ “เสียงเตือนจากร่างกาย” ในหลายตอนที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายท่านคงจะเริ่มฟังเสียงของร่างกายตัวเองมากขึ้น สถาบันอริยะ จึงอยากขอเน้นให้ทุกท่านได้เห็นถึงคุณค่าของร่างกายให้มากขึ้น เพราะหากว่าส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเกิดความเสียหาย แม้เพียงส่วนเดียว ก็อาจส่งผลกระทบไปทั่วทั้งร่างกายได้ สำหรับในตอนที่ 5 Part 1 จะขอกล่าวถึงอาการหนึ่งที่คนส่วนใหญ่มักประสบแล้วเป็นแน่ นั่นก็คือ อาการ “ปวดหลัง” อาการปวดหลัง จัดว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และโดยส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการปวดหลังเกิดขึ้นแล้วมักจะไม่หายขาด ถึงแม้ว่าจะหายชั่วคราวก็มักจะกลับมาปวดอีก ในงานวิจัยหลายงานได้กล่าวไว้ว่า อาการปวดหลังเป็นปัญหาที่พบได้ 70-80 %…

ปวดไหล่ ไหล่ติด ปวดร้าวลงแขน

ตอนที่ 4 ปวดไหล่ ไหล่ติด ปวดร้าวลงแขน นิ้วล็อค มือชา สาเหตุ และการป้องกัน รักษา

ปวดไหล่ ไหล่ติด ปวดร้าวลงแขน นิ้วล็อค มือชา อาการที่เป็นสัญญาณเตือนภัยจากร่างกาย ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เมื่อฉบับที่แล้วเราได้รับความรู้ว่า บ่า สะบัก ไหล่ เป็นส่วนของร่างกายที่มีผลต่อกันโดยตรง ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาก็จะเกิดต่อเนื่องกันทั้งสามส่วน แต่ก็ยังมีอีกส่วนของร่างกายที่เป็นความเชื่อมต่อ โดยไม่สามารถแยกออกจากกันได้นั่นก็คือ แขนและมือของเรานั่นเอง หลายท่านอาจเคยประสบปัญหา หรืออาจได้ยินคนรอบข้างมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดไหล่ ไหล่ติด อาการ ปวดไหล่ ไหล่ติด เสียวในหัวไหล่ ปวดร้าวลงแขน เสียวแปล๊บจากหัวไหล่ถึงศอก หรือเสียวจากเหนือข้อศอกถึงมือขณะขยับ เหยียดแขน ปวดลึกๆ ร้าวตามแนวด้านหลังต้นแขน ชาแขน ชามือ ชาตามปลายมือ นั่งทำคอมฯนานๆ แล้วปวดมือ มืออ่อนแรง เสียวแปล๊บตามข้อมือ ตามเส้นเอ็นที่นิ้วหัวแม่มือ หยิบจับของแล้วของล่วงบ่อยๆ มือแข็งกำไม่ลง(โดยเฉพาะตอนเช้าๆ) นิ้วล็อค กำมือแล้วเหยียดนิ้วออกจะเจ็บหรือเหยียดไม่ออก ปวดข้อมือ ปวด-ชาในมือจนนอนไม่หลับต้องตื่นบ่อยๆ กลางดึก ฯลฯ อาการเหล่านี้หลายท่านคิดว่า เป็นๆ หายๆ คงไม่เป็นไร จึงแก้ไขปัญหาด้วยวิธีรักษาเฉพาะจุดที่มีอาการปวด เพราะต่างก็เข้าใจว่าปวดตรงไหนก็แก้ตรงนั้น ก็นวดตรงนั้น แต่นั่นไม่ใช่การแก้ที่ต้นเหตุ เพราะร่างกายเราเชื่อมโยงกันทั้งตัว…

ปวดไหล่ ไหล่ติด ปวดร้าวลงแขน

ตอนที่ 3 (ปวดบ่า ปวดสะบัก ปวดไหล่)

ตอนที่แล้วเราได้ทราบแล้วว่า อาการต่างๆ ของร่างกายที่กำลังบอกว่าการปวดคอที่เรื้อรังนั้น อาจเป็นอันตรายมากกว่าที่เราคิดไว้ ในตอนที่ 3 นี้ จะพูดถึงบริเวณที่ใกล้เคียงกับบริเวณคอมากนั่นคือ อาการปวดบ่า สะบักและหัวไหล่  อันดับแรกเราต้องรู้ก่อนว่าตรงไหนบ้างที่เรียกว่า บ่า สะบัก และไหล่     บ่า คือ บริเวณที่กล้ามเนื้อต่อมาจากคอแผ่ตามแนวข้างคอและมาสุดที่หัวไหล่ สะบัก (Scapular) คือ ส่วนของกระดูกที่เป็นคล้ายปีกอยู่บนกระดูกชายโครง (Rib cage) ของลำตัวช่วงบนทั้งสองข้าง และกระดูกสองชิ้นนี้โดยปกติจะวางห่างจากตรงกลางกระดูกสันหลังเพียง 2 นิ้ว หัวไหล่ (Shoulder) เป็นส่วนที่ลำตัวต่อเชื่อมโยงกับแขนของคนเรา ในทางกายวิภาคศาสตร์ ทั้งสามส่วนนี้ ไม่สามารถแยกจากกันได้โดยสิ้นเชิง เพราะถูกเชื่อมต่อกันด้วยข้อต่อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ  ถือได้ว่าเป็นบริเวณเดียวกัน (Shoulder Girdle) ดังนั้นเมื่อร่างกายส่งสัญญาณบอกถึงความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ทั้งสามส่วนนี้จึงส่งผลซึ่งกันและกัน อีกทั้งเป็นผลที่เชื่อมโยงมาจากคอได้ด้วย ท่านทราบหรือไม่ว่าการที่หัวไหล่สามารถเคลื่อนไหวได้สุดองศานั้น การเคลื่อนไหว 2 ใน 3 มาจากการเคลื่อนของหัวไหล่ (Glenohumeral joint) อีก 1 ใน…

ตอนที่ 2 (ปวดคอนั้น สำคัญไฉน…อาจตายได้แค่ปวดคอ)

ปวดคอ ปวดบ่า ต้นเหตุอาจมาจากโครงสร้างร่างกายที่ผิดปกติ ? ? อายุยังน้อย…โครงสร้างร่างกายก็ผิดปกติได้ด้วยหรือ ?   ระบบโครงสร้างร่างกายสำคัญต่อการมีอายุยืนและไม่เป็นอัมพาต ร่างกายจะแข็งแรงและมีความต้านทานได้ดี ระบบต่างๆของโครงสร้างร่างกายต้องสมดุลด้วย ทั้งระบบกระดูก-กล้ามเนื้อ(Musculoskeletal System) , ระบบไหลเวียนเลือด-น้ำเหลือง (Circulatory System) รวมถึง ระบบประสาท (Nervous System ทุกระบบที่กล่าวมานั้น มีการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน มีส่วนทำให้ศักยภาพของร่างกายมีความแข็งแรง ทนทาน ไปจนถึงวัยอันควร ชะลอการเสื่อมก่อนวัย ซึ่งแค่อาการปวดคอเพียงอย่างเดียวอาจมีสาเหตุ ปัจจัย มาจากหลายๆระบบร่วมกัน อาการปวดคอแบบไหน? ที่เตือนว่า…คุณต้องตรวจโครงสร้างร่างกาย…ด่วน !!! สัญญาณเตือนภัยปวดคอ 10 ข้อนี้ จะเป็นตัวบ่งชี้ว่า คุณอาจเป็นผู้เสี่ยงต่อการมีโครงสร้างร่างกายไม่สมดุล!! ซึ่งจะทำให้เกิดโรคต่างๆได้ เช็คคะแนนดูนะคะ! หากมีอาการเพียง 4 ใน 10 ข้อ ต่อไปนี้..ต้องได้รับการตรวจโครงสร้างร่างกายโดยด่วน!! ก่อนที่จะสายเกินแก้ไข                …

ตอนที่ 1 (มารู้จัก..โครงสร้างร่างกาย)

โครงสร้างร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยส่วนสำคัญหลายส่วน รู้ไหมคะ..โครงสร้างร่างกายที่ไม่สมดุลทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้!!   “กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก” พุทธสุภาษิตบทนี้เป็นเครื่องเตือนให้เรา ได้หยุดคิด และตรึกตรองว่าการได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นยากยิ่ง มนุษย์ที่ได้ร่างกายมาโดยสมบูรณ์จึงควรจะใช้ร่างกายนี้อย่างสมเหตุสมผล ใช้ให้พอเหมาะพอควร ใช้มากไปก็ช้ำ ใช้น้อยไปก็เฉา ในทางธรรมชาติบำบัดจะให้ความสำคัญกับเสียงเตือนจากร่างกายมาก เพราะเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นร่างกายจะฟ้องด้วยอาการต่างๆทันที แต่เรามักไม่รู้สึกตัวถึงสิ่งที่ร่างกายพยายามบอก ร่างกายมนุษย์เรานั้น ประกอบด้วยระบบสำคัญอันเป็นรากฐานที่ต้องแข็งแรง ระบบสำคัญนี้ก็คือ ระบบโครงสร้างร่างกาย ซึ่งหมายรวมถึงกระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ เส้นประสาท ระบบไหลเวียนเลือด , น้ำเหลือง ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยการทำงานซึ่งกันและกัน ระบบกระดูกช่วยพยุงโครงสร้างร่างกาย     กระดูก (Skeletal bone) หน้าที่หลักคือเป็นโครงพยุงร่างกาย  และเป็นตัวป้องกันอวัยวะภายในไม่ให้มีการกระทบกระเทือน หากเพียงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่งบกพร่องก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้ไขกระดูกยังเป็นที่สะสมแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งเป็นเสมือนสารตั้งต้นในกระบวนการต่างๆของร่างกาย เป็นตัวสร้างเม็ดเลือดแดง, เม็ดเลือดขาว (ฆ่าเชื้อโรค) และเกล็ดเลือด เพื่อนำไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆในร่างกาย กล้ามเนื้อของมนุษย์ไม่ได้มีแค่ชั้นเดียว..แต่ยังมีอีกหลายชั้น..ที่ทำหน้าที่ต่างกันออกไป     กล้ามเนื้อ (Muscle System) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากของโครงสร้างร่างกาย ในการทรงตัวของกระดูก ให้อยู่ในแนวปกติ ซึ่งต้องอาศัยทั้งความแข็งแรง…

ทำไมต้องเป็น ‏Anatomy Bra

บราเซียร์ แตกต่างจากบราอื่น? ทำไมจึงเป็น Anatomy bra 1. แพทเทิร์นบราเซียร์ ออกแบบถูกต้องตามหลักกายวิภาคศาสตร์ ถูกตามลายมัดกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยประคองกล้ามเนื้อส่วนที่ควรได้รับการรองรับ และให้กล้ามเนื้อส่วนที่ควรทำงานได้ทำงานเอง เพื่อให้เกิดกำลังกล้ามเนื้อ และยังช่วยในการควบคุมอิริยาบถ ผู้สวมใส่ให้อยู่ในท่าทางที่ถูกต้องในการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันอย่างคงความเป็นธรรมชาติ ไม่อึดอัด แต่ช่วยกระชับ เสมือนผิวที่สอง ของร่างกาย 2. เส้นใยบราเซียร์ ที่เป็นคุณสมบัติพิเศษ ด้วยการคัดเลือกในแบบของบราเซียร์ ทำให้มีความยืดหยุ่นสูง มีกำลังพอที่จะพยุงกล้ามเนื้อตามหลักกายวิภาคศาสตร์ เช่น กล้ามเนื้อหน้าอก ก้น สะโพก ต้นขา หน้าท้อง และการพยุงหลัง 3. การสวมใส่บราเซียร์เป็นเทคนิคเฉพาะตามหลักกายวิภาคศาสตร์ การสวมใส่บราเซียร์อย่างถูกต้องทำให้ไม่มีการกดทับกล้ามเนื้อ และไม่ขัดขวางการทำงานของระบบอวัยวะภายในร่างกาย แต่กลับช่วยให้ระบบทำงานได้ดีขึ้น ทั้งระบบการไหลเวียนเลือด / น้ำเหลือง ระบบการเผาผลาญอาหาร เพราะเมื่อกล้ามเนื้ออยู่ในความยาวที่ถูกต้อง ก็ส่งผลต่อทุกระบบที่ต้องผ่านกล้ามเนื้อ ทั้งเส้นเลือด น้ำเหลือง เส้นประสาท และยังเป็นการช่วยให้ผู้สวมใส่ ได้ออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดลึกเฉพาะมัด ในขณะที่ fitting อย่างถูกต้องตามหลักการของบราเซียร์ ดังนั้นเมื่อสวมใส่นานเท่าใดก็เท่ากับได้ออกกำลังกายมากเท่านั้น และยังสามารถสวมใส่ได้แม้ขณะนอนหลับ เพื่อช่วยในการปรับโครงสร้างร่างกาย เพราะเวลาหลับเป็นช่วงเวลาที่มีโอกาสเสียโครงสร้างร่างกายมากที่สุด ชุดบราเซียร์…