ตอนที่แล้วเราได้ทราบแล้วว่า อาการต่างๆ ของร่างกายที่กำลังบอกว่าการปวดคอที่เรื้อรังนั้น อาจเป็นอันตรายมากกว่าที่เราคิดไว้ ในตอนที่ 3 นี้ จะพูดถึงบริเวณที่ใกล้เคียงกับบริเวณคอมากนั่นคือ อาการปวดบ่า สะบักและหัวไหล่ อันดับแรกเราต้องรู้ก่อนว่าตรงไหนบ้างที่เรียกว่า บ่า สะบัก และไหล่
- บ่า คือ บริเวณที่กล้ามเนื้อต่อมาจากคอแผ่ตามแนวข้างคอและมาสุดที่หัวไหล่
- สะบัก (Scapular) คือ ส่วนของกระดูกที่เป็นคล้ายปีกอยู่บนกระดูกชายโครง (Rib cage) ของลำตัวช่วงบนทั้งสองข้าง และกระดูกสองชิ้นนี้โดยปกติจะวางห่างจากตรงกลางกระดูกสันหลังเพียง 2 นิ้ว
- หัวไหล่ (Shoulder) เป็นส่วนที่ลำตัวต่อเชื่อมโยงกับแขนของคนเรา
ในทางกายวิภาคศาสตร์ ทั้งสามส่วนนี้ ไม่สามารถแยกจากกันได้โดยสิ้นเชิง เพราะถูกเชื่อมต่อกันด้วยข้อต่อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ ถือได้ว่าเป็นบริเวณเดียวกัน (Shoulder Girdle) ดังนั้นเมื่อร่างกายส่งสัญญาณบอกถึงความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ทั้งสามส่วนนี้จึงส่งผลซึ่งกันและกัน อีกทั้งเป็นผลที่เชื่อมโยงมาจากคอได้ด้วย
ท่านทราบหรือไม่ว่าการที่หัวไหล่สามารถเคลื่อนไหวได้สุดองศานั้น การเคลื่อนไหว 2 ใน 3 มาจากการเคลื่อนของหัวไหล่ (Glenohumeral joint) อีก 1 ใน 3 มาจากการเคลื่อนของสะบัก (Scapulothoracic joint) และหากมีความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งโดยเฉพาะกล้ามเนื้อชั้นลึกที่เชื่อมจากคอผ่านบ่า ไปที่สะบัก และไปที่หัวไหล่ กล้ามเนื้อเหล่านี้แหละที่เป็นต้นเหตุของอาการปวดเรื้อรัง
โครงสร้างคอที่ผิดปกติ..ส่งผลโดยตรงต่ออาการปวดบ่า สะบัก และหัวไหล่
กล้ามเนื้อทั้งสามส่วนนี้มีจุดเกาะมาจากกระดูกคอ และหัวไหล่ ซึ่งหัวไหล่เป็นข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดในร่างกาย จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย และยังมีกล้ามเนื้อที่ให้ความมั่นคงกับหัวไหล่ (Rotator Cuff muscle) อีกด้วย เมื่อร่างกายเกิดความไม่สมดุลจากการใช้งานมากเกินไป ก็มักมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเหล่านี้ ทำให้มีอาการปวดบ่า สะบัก และหัวไหล่เรื้อรัง
ซึ่งในภาวะเวลานั่งทำงาน ร่างกายของคนเรามักมีแนวโน้มก้มไปด้านหน้าอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ในท่าคอยื่นไปด้านหน้า ไหล่งุ้มงอ ห่ออก ดังนั้นจึงมักมีการหดสั้นของกล้ามเนื้อด้านหน้า และยืดยาวออกของกล้ามเนื้อด้านหลัง ทำให้หลังยิ่งโก่งงองุ้มมากขึ้น และเกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อต่างๆได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นเส้นเอ็น ข้อต่อ กล้ามเนื้อ รวมถึงเส้นเลือด เส้นประสาทโดยรอบ เกิดการบาดเจ็บจนปวดเรื้อรัง หากแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเพียงเพื่อบรรเทาอาการปวด ก็จะส่งผลให้เกิดความลุกลามถึงขั้นเป็นโรครุนแรง จนอาจทำให้เสียศักยภาพของแขนข้างที่ปวดก็เป็นได้
การใช้ชีวิตประจำวันด้วยอิริยาบถที่ผิดๆโดยไม่รู้ตัว มักเป็นสาเหตุของอาการปวด
ปัญหาจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ การหิ้วของ การสะพายกระเป๋าหนัก การทำงานบ้าน การนอนทับหัวไหล่ หรือจากการได้รับอุบัติเหตุไหล่กระแทกฯลฯ ซึ่งทั้งหมดอาจทำให้ร่างกายของท่านแสดงอาการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปวดบ่าร้าวไปสะบัก ปวดในหัวไหล่ ยกไหล่ไม่สุด เสียวแปล๊บๆบางจังหวะที่มีการเคลื่อนหัวไหล่จนก่อให้เกิดความรำคาญเรื้อรัง ปวดลึกๆ ใต้สะบัก บางรายอาจรู้สึกปวดสะบักแล้วเสียวเข้าช่องอก หายใจแรงก็รู้สึกปวดแปล๊บใต้สะบัก (บ้านเราชอบเรียกสะบักจม) เวลาหมุนหรือเคลื่อนไหวไหล่ก็มักมีเสียง คลึกๆ อยู่ด้านใน รู้สึกในหัวไหล่และสะบัก เคลื่อนไหวไม่คล่องขัดอยู่ในข้อลึกๆ
อาการปวดบ่า ปวดสะบัก หายได้…ด้วยการปรับโครงสร้างร่างกาย
การปรับโครงสร้างร่างกาย ไม่เพียงเป็นการแก้ที่ต้นเหตุของอาการปวดบ่า สะบัก เท่านั้น แต่ยังเป็นการปรับสมดุลทั้งร่างกาย เพราะกล้ามเนื้อไม่สามารถแยกออกจากกันเป็นส่วนๆได้ ต่างก็มีความเชื่อมโยงถึงกันไปหมด ดังนั้นการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย ก็เสมือนได้ร่างกายที่แข็งแรง ทนทาน พร้อมในการใช้งาน ใช้ชีวิตประจำได้โดยไม่มีอาการปวดมารบกวนอีก
หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีปัญหาเรื้อรังกับอาการปวดบ่า ปวดสะบัก และปวดไหล่
การรักษาที่ต้นตอ ไม่เสี่ยงต่อการปวดเรื้อรังและรุนแรง..จนรักษาไม่ได้
วิธีการรักษาด้วยการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายเป็นทางเลือกหนึ่ง
ที่จะทำให้ท่านได้พบกับปัญหาที่แก้ไม่ได้อย่างแท้จริง