เล่นมือถือ ปวดมือ ปวดแขน มือชา ถ้ามีอาการเหล่านี้ แสดงว่าร่างกายกำลังส่งสัญญาณเตือนภัยจากการใช้ชีวิตประจำวันแล้วค่ะ โดยเฉพาะอาการที่เรียกว่า “ติดสมาร์ทโฟน”
เล่นมือถือ ปวดมือ ปวดคอ ระวัง
ต้องยอมรับว่าในโลกยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้ามากในด้านการสื่อสารแบบไร้สาย ผู้คนต่างมีโลกส่วนตัวอยู่กับเครื่องมือสื่อสารของตน มองไปทางไหนก็ต่างก้มหน้าก้มตามองมือถือซึ่งมีแอฟพลิเคชั่นรองรับความต้องการของคนทุกเพศทุกวัย ผู้คนพูดคุยกันน้อยลง บ้างหัวเราะ บ้างทำหน้าเศร้า บ้างกำลังเมามัน มีอารมณ์ร่วมอยู่กับจอเล็กๆบนมือของตน เป็นยุคที่ผู้คนกำลังถูกมอมเมาด้วยภาพและเสียงที่มาล่อตาล่อใจ จะมีสักกี่คนที่สนใจกับร่างกายว่า ตอนที่กำลังเพลิดเพลินอยู่นั้น เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายบ้าง เกือบทั้งหมดจะรู้สึกตัวก็ต่อเมื่อเงยหน้าขึ้นจากจอเล็กๆ ในมือ นั่นแหละ
หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่เป็นโรคติดสมาร์ทโฟน ท่านคงจะได้รับเสียงเตือนจากร่างกายของท่านบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดเมื่อยบ่า ก้านคอ สะบัก ปวดข้อศอก ปวดแขน นิ้วล็อค มือชา มือไม่มีแรง ปวดฝ่ามือ มือแข็ง เวลาใช้แรงกำหรือหยิบของ จะรู้สึกกำได้ไม่ถนัด และแม้แต่อาการมึนๆ ตึงๆ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ตาพล่ามัว หาวนอนบ่อยๆ หายใจไม่อิ่ม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้คือ เสียงจากร่างกายที่เตือนท่านอยู่บ่อยๆ มีต้นตอจากการเล่นเกมส์ การเพลิดเพลินไปกับโรคออนไลน์ สื่อสารแบบต้องพิมพ์ถึงกัน ด้วยการใช้สมาร์ทโฟนนั่นเอง หากท่านลองเปลี่ยนจากเป็นผู้เล่นเป็นผู้สังเกตุการณ์ ท่านอาจเห็นภาพตัวเองในลักษณะท่าทางที่บั่นทอนร่างกายเป็นอย่างยิ่ง ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจน
เล่นมือถือ ปวดมือ ปวดคอ สาเหตุ
การจัดการกับร่างกายหรือกับอาการต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมานั้นไม่ยากเลยค่ะ ถ้าดูจากต้นเหตุของอาการก็พูดให้เข้าใจได้ง่ายๆว่า เป็นการขาดความสมดุลของระบบโครงสร้างร่างกายนั่นเอง ซึ่งเราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ทุกหน่วยเซลล์ของร่างกาย ได้รับอาหาร และขับของเสียต่างๆ ผ่านทางหลอดเลือดและน้ำเหลือง หลอดเลือดเหล่านี้ก็ทอดผ่านกล้ามเนื้อ จึงสรุปได้ว่า เมื่อมีความบกพร่องของโครงสร้างร่างกาย ร่างกายก็จะส่งสัญญาณเตือนด้วยการแสดงอาการต่างๆ ดังที่ได้กล่าวนั่นเอง
- เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เส้นไยกล้ามเนื้อหดสั้นมากกว่าปกติ ทั้งบริเวณกล้ามเนื้อคอด้านหน้า (Anterior neck m.) กล้ามเนื้อใต้ฐานกะโหลกศีรษะ (Sub occipital muscles) กล้ามเนื้อช่วงอก (Pectoralis m.) กล้ามเนื้อระหว่างกระดูกชายโครงด้านหน้า (Anterior external/internal intercostal muscles ) กล้ามเนื้อในการงอศอก (Biceps brachii muscle) กล้ามเนื้อในนิ้วมือและฝ่ามือ(Intrinsic Hand muscles group)
- เกิดการเกร็งตัวจากการยืดยาวออกของกล้ามเนื้อด้านหลังช่วงก้านคอ (Posterior Neck muscles) กล้ามเนื้อบ่า (Upper trapezius muscle ) กล้ามเนื้อรอบสะบักด้านใน และกล้ามเนื้อหลังช่วงบน (Levator scapulae muscle, Rhomboid muscle, Middle trapezius muscle)
- การที่เส้นใยกล้ามเนื้อมีการหดสั้นมากกว่าปกติ จะมีผลกับหลอดเลือดและเส้นประสาท ที่ทอดผ่านเส้นใยกล้ามเนื้อนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณคอซึ่งเป็นส่วนที่ผ่านไปเลี้ยงสมอง บริเวณอกซึ่งเป็นส่วนที่ระบบเลือด-ระบบน้ำเหลือง-ระบบเส้นประสาท ผ่านไปที่แขน ที่ข้อมือและนิ้วมือทั้งสองข้าง ด้านหน้าอกก็เป็นส่วนที่ช่วยในการขยายตัวของปอด ช่วยในการหายใจ แต่เมื่อถูกกดรัดอยู่ ก็ทำให้การไหลเวียนของระบบเหล่านี้สูญเสียไปด้วย และนั่นก็ส่งผลให้มีอาการต่างๆ ดังที่กล่าวมา
- จากข้อ 2 และ ข้อ 3 จะเกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า Muscle Imbalance คือในภาวะปกติ กล้ามเนื้อด้านหน้ากับด้านหลังจะทำงานร่วมกันและสมดุลกันเพื่อพยุงให้กระดูกสันหลังช่วงบน และช่วงคอของเราอยู่ในแนวความโค้งที่ปกติ แต่เมื่อเกิดความไม่สมดุลขึ้น จะมีผล ทำให้กระดูกของเราค่อมมากกว่าปกติ จากการผิดรูปของกระดูกสันหลังช่วงบนกับช่วงคอนั้น มีผลทำให้การรับน้ำหนักของกระดูกคอมากกว่าปกติ เป็นที่มาของโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมที่เสื่อมเร็วกว่าวัย และมีผลต่อเนื่องทำให้เส้นประสาทที่คอถูกกดทับ เกิดอาการปวดร้าวตามแนวของเส้นประสาท ซึ่งอาการปวดจากการกดทับนี้จะไม่เหมือนปวดกล้ามเนื้อธรรมดา จะเป็นอาการปวดล้า ๆ เมื่อย ๆ ลึกๆ ตลอดทั้งศีรษะ คอ บ่า สะบัก หรือแขน บางเคสร่วมกับอาการอ่อนแรง ซึ่งหากปล่อยไว้นาน รักษาไม่ตรงต้นตอของอาการที่เป็นก็อาจทำให้ไม่มีแรง หรือที่เราชอบเรียกว่าอัมพฤกษ์ อัมพาตก็เป็นได้
เห็นหรือยังคะ การติดสมาร์ทโฟนนั้น ไม่ใช่เรื่องเล่นสนุกๆ อย่างที่หลายๆ ท่านกำลังเพลิดเพลินกัน แต่ตรงกันข้ามหากเราไม่ฟังเสียงร่างกาย รู้ไม่เท่าทันสัญญาณต่างๆ ของร่างกาย นอกจากจะทำให้ปวด สร้างความรำคาญใจแล้ว ก็อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ต้องสูญเสียทั้งกำลังทรัพย์ ทั้งสมรรถภาพของร่างกาย และอาจพ่วงถึงเป็นภาระให้คนในครอบครัวด้วย โรคเกิดจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นเราก็สามารถเลือกได้ว่าจะมีชีวิตอยู่อย่างไร การใช้เครื่องมือที่ทันสมัยตามเทคโนโลยีนั้น เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความสะดวก แต่หากใช้ผิดวัตถุประสงค์ ปล่อยให้ตัวเองถูกมอมเมาคงเป็นผลเสียมากกว่าผลดีเป็นแน่
ท่านใดที่รู้สึกได้ว่าร่างกาย เริ่มเตือนด้วยสัญญาณต่างๆดังที่กล่าวแล้ว ลองหาวิธีแก้อาการต่างๆแล้ว แต่ยังทำให้อาการไม่หายขาด การแก้เพียงอาการที่แสดงออกมาอาจทำให้สบายเพียงไม่กี่วัน แต่อาการจะสะสมเป็นรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนการแก้ที่ต้นตอของสถาบันอริยะนั้นต้องตรวจประเมินโครงสร้างร่างกายทั้งหมดที่อาจเกี่ยวข้องกับบริเวณที่เป็นก่อน จึงจะสามารถปรับโครงสร้างร่างกายให้สมดุลได้ เพื่อให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติโดยที่ไม่มีอาการปวดกลับมารบกวนได้อีก
สถาบันอริยะ ขอแนะนำให้ท่านผู้อ่านได้หันกลับมาดูร่างกายตัวเอง เริ่มจากการตรวจโครงสร้างร่างกายของเรานี่ล่ะค่ะ อย่างน้อยก็ทำให้ทราบแนวทางการดูแลร่างกายต่อ ทราบแนวโน้มของโรคที่อาจเกิดกับเราได้ การป้องกันดีกว่าการแก้ไขภายหลังแน่นอนค่ะ พบกันอีกทีฉบับหน้านะคะ
การอยู่ในท่าทางดังกล่าวก็ไม่ได้อยู่เพียงชั่วครู่ แต่เป็นการเกร็งค้างไว้อย่างน้อยก็ครึ่งชั่วโมงหรือนานเป็นชั่วโมงก็มี ท่านคิดว่าร่างกายจะทนทานไหวหรือไม่ แต่ในทางกายวิภาคศาสตร์แล้ว ถือว่าเป็นท่าที่ทรมานร่างกายมากที่สุด ใช้งานร่างกายหนักเกินกำลังที่จะทานทนได้ เพราะอยู่ในท่าที่ผิดมาก แล้วยังอยู่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งจะส่งผลเสียกับร่างกายอย่างไรบ้าง เรามาดูกันนะคะ
ติดตามเรื่องราวเพื่อรู้จักร่างกายและคอยฟังเสียงเตือนจากร่างกายได้ในฉบับต่อไปนะคะ
หากสนใจบริการของเรา สามารถคลิกได้ที่ ariyawellness.com/services/
ช่องทางติดต่อ Inbox ทางเพจ Facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/ariyawellnesscenter