กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท สาเหตุหลักของอาการปวดหลัง ( Lumbar Spondylolisthesis) นี่คือภัยเงียบจากร่างกายที่สำคัญมาก หากปล่อยไว้ไม่ดูแลรักษาให้เหมาะสม อาจจะเรื้อรังจนส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของเราได้
สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านทุกท่าน ฉบับนี้ก็มีเรื่องราวดีๆ สำหรับสุขภาพหลังมาฝากกันอีกแล้วค่ะ คราวที่แล้วผู้เขียนได้เล่าให้ฟังไปแล้วว่าโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนนั้นเกิดที่ส่วนใดขององค์ประกอบหลัง และมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง ฉบับนี้จะบอกอีกสาเหตุหนึ่งของอาการปวดหลังที่มักพบกันได้บ่อยๆ นั่นคือ กระดูกเคลื่อน ซึ่งการเคลื่อนนั้นมักมีผลกระทบต่อเส้นประสาทที่ออกมาจากข้างแนวกระดูกสันหลัง จึงเรียกว่ากระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท ฟังชื่อแล้วดูคล้ายๆ กับหมอนรองกระดูกเคลื่อน แต่อาการนี้เป็นตัวกระดูกสันหลังเคลื่อนเองเลยค่ะ ไม่ใช่หมอนเคลื่อนนะคะ ฉบับที่แล้วเราได้ทราบถึงโครงสร้างของหลังแล้วว่าประกอบด้วยส่วนใดบ้าง? กระดูกแต่ละปล้องเรียงตัวอย่างไร? มีหมอนรองกระดูกคั่นตรงไหน? เส้นประสาทออกจากตรงไหน? ดังนั้นเมื่อผู้เขียนกล่าวถึงกระดูกเคลื่อนก็จะนึกภาพได้ชัดเจนมากขึ้น
กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ไปด้านหน้า
เป็นภาวะที่กระดูกแต่ละปล้องของหลังจากปกติที่เรียงตัวอยู่ในแนวความโค้งที่ถูกต้อง แต่เมื่อเคลื่อนจะเป็นการมองเทียบระหว่างกระดูกปล้องบนต่อกับปล้องล่าง การเคลื่อนของกระดูกปล้องบนไปด้านหน้าเมื่อเทียบกับท่อนล่าง หากเกิดภาวะเช่นนี้เราเรียกว่าเป็นกระดูกสันหลังเคลื่อน( Lumbar Spondylolisthesis) ซึ่งกรณีนี้มักจะเกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังท่อนล่างๆ หรือกระดูกสันหลังต่อกับกระดูกกระเบนเหน็บ (Lumbosacral area)
กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ไปด้านหลัง
อีกประเภทซึ่งพบได้แต่น้อยคือการเคลื่อนของกระดูกปล้องบน เลื่อนไปด้านหลังเมื่อเทียบกับท่อนล่าง (Retrolisthesis or Retrospondylolisthesis) การเคลื่อนแบบนี้จะมีอาการคล้ายๆ กัน จะสามารถวินิจฉัยได้ก็ต่อเมื่อได้รับการเอ็กซเรย์แล้วการเคลื่อนของกระดูกทั้งสองกรณี
ในบางรายอาจมีผลต่อการกดทับหรือกระทบต่อไขสันหลังและช่องทางออก ของเส้นประสาท เป็นสาเหตุที่อาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดบริเวณก้น ชา หรืออ่อนแรงของขาข้างใดข้างหนึ่งหรือ ทั้งสองข้าง ในรายที่เป็นหนักอาจมีผลกระทบไปถึงการควบคุมระบบขับถ่ายได้ ฯลฯ
การเคลื่อนของกระดูกหากเป็นเพียงเล็กน้อยหรือเคลื่อนไม่มาก
เริ่มต้นอาจไม่มีอาการใดๆก็เป็นได้ แต่หลังจาก 6 เดือนหรือ 1 ปีขึ้นไป มักพบว่าจะเริ่มปวดบั้นเอว บริเวณของเชิงกราน หรือแถวบริเวณก้น รวมถึงอาจรู้สึกไม่มีแรงที่ขาด้าน ที่เป็นหรือรู้สึกตึงร้าวไปตลอดทั้งขาก็เป็นได้
แต่อย่างที่เรียนข้างต้นค่ะ เวลามีอาการปวดหลังร้าวลงขา อาการก็มักคล้ายๆ กันไปหมด บางครั้งตัวเคสเองก็มักกลัว ความพิการ ขาดการไตร่ตรอง ซึ่งหากตัดสินใจผิด เลือกการรักษาที่ไม่ตรงกับภาวะโครงสร้างของตนเองที่เป็นอยู่ ก็มักจะเกิดอาการรุนแรงมากขึ้น กระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทนี้ไม่เหมาะต่อการไปกดหรือดัดกระดูกที่รุนแรง เพราะอาจเสี่ยงต่อการเคลื่อนที่ได้มากขึ้น การเคลื่อนของกระดูกสันหลังมักเกิดจากอุบัติเหตุที่ค่อนข้างรุนแรง เช่น การล้มก้นกระแทก อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการกระชากหรือกระแทกที่รุนแรง กีฬาบางประเภทที่ต้องกระแทกกันหรือต้องล้มบ่อยๆ ซึ่งในนักกีฬามักจะพบว่าอาการจะแสดงหลังจากกระดูกเคลื่อนไปแล้วประมาณ 1 ปี อีกกลุ่มหนึ่งที่มักพบกระดูกสันหลังเคลื่อนคือกลุ่มที่มีหลังแอ่นมากกว่าปกติ ไม่ว่าความแอ่นนั้นจะมาจากสาเหตุใด เช่น มีหน้าท้องมาก ก้นงอน โครงสร้างพื้นฐานที่หลังแอ่นอยู่ แล้ว พฤติกรรมการเดินหรือยืนที่มักยืนแอ่นพุง การชอบใส่รองเท้าส้นสูงๆ เหล่านี้เมื่อสะสมเป็นเวลานานๆ ก็มักจะทำให้เกิดกระดูกเคลื่อนในที่สุด เมื่อถึงบางกิจกรรมที่เกิดแรงกระชากหรือกระแทก แม้ไม่รุนแรงก็เป็นปัจจัยให้กระดูกเคลื่อนได้ง่าย
สำหรับสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ทำให้เกิดกระดูกเคลื่อนนี้ แท้จริงแล้วคือ กล้ามเนื้อชั้นลึกที่เป็นตัวประคองและพยุงแนวกระดูกสันหลังนั้นไม่แข็งแรงเพียงพอต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน และไม่เคยถูกสร้างให้แข็งแรงทนทาน เพราะพื้นฐานของเคสที่เป็นนั้น มีปัจจัยด้านโครงสร้างร่างกายที่เสี่ยงให้เคลื่อนได้ง่ายอยู่แล้ว และจากเหตุผลที่แท้จริงนี่แหละ จึงเป็นแนวทางและวิธีการที่จะนำมารักษาผู้ที่เป็นกระดูกสันหลังเคลื่อน แต่ทั้งนี้ก็ต้องตรวจ และวิเคราะห์ว่าความรุนแรงที่เป็นนั้นสามารถที่จะรักษาด้วยการสร้างกล้ามเนื้อเพื่อปรับสมดุลให้แนวกระดูกสันหลังนั้นสามารถทำได้หรือไม่ เพราะหากเป็นเคสที่พบว่า มีการเคลื่อนมากและรุนแรงก็อาจต้องรักษาทางอื่น ฯลฯ
เป็นอย่างไรบ้างคะแค่อาการปวดหลังเพียงบริเวณเดียว ก็เกิดจากโครงสร้างได้หลายอย่าง หากรู้เช่นนี้แล้วเมื่อมีอาการปวดหลังขึ้นมา อันดับแรกต้องตั้งสติให้ดีค่ะ แล้วพิจารณาดูว่าตนเองควรจะเลือกรักษาด้วยวิธีใด ร่างกายเรามีศักยภาพพอ ที่จะรักษาตนเองได้ค่ะ อย่าลืมนึกถึง สถาบันอริยะ เมื่อมีอาการปวดหลังนะคะ แวะไปขอคำปรึกษาได้ค่ะสวัสดีค่ะ
หากสนใจบริการของเรา สามารถคลิกได้ที่ ariyawellness.com/services/
ช่องทางติดต่อ Inbox ทางเพจ Facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/ariyawellnesscenter