ปวดคอ-คอเสื่อมหรือไม่ ร่างกายจะเตือนอะไร?

คมชัดลึก 2 ปวดคอ-คอเสื่อมหรือไม่ ร่างกายจะเตือนอะไร?

โลกยุคปัจจุบันอันมีความเจริญด้านการสื่อสารแบบไร้พรมแดน การใช้ชีวิตของคนยุค4G ก็ยิ่งเสี่ยงต่อโรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อได้มาก ด้วยท่าทางที่ต้องก้มอยู่กับเครื่องมือสื่อสารทั้งตอนทำงาน และเวลาว่าง ที่มานั่งจ้องจอโทรศัพท์ และนั่นก็ถือเป็นปัจจัยหลักทำให้พบว่าปัจจุบันมีคนที่มีอาการปวดคอเพิ่มมากขึ้นทุกปี

ปวดคอ บ่า สะบัก ปวดร้าวชาลงแขน

ปวดคอ บ่า สะบัก ปวดร้าวชาลงแขน เกิดจากอะไร

ปวดคอ บ่า สะบัก ปวดร้าวชาลงแขน เกิดจากอะไร หากไม่คอยดูแล สำรวจอาการเหล่านี้ให้ดี มันอาจกลายเป็นภัยเงียบและอันตรายเรื้อรังต่อร่างกายอย่างคาดไม่ถึงเลยค่ะ ดังนั้นวันนี้เรามารู้จักอาการปวดคอ บ่า สะบัก ร่วมกับอาการร้าวลงแขน ชามือ มืออ่อนแรงว่ามาจากสาเหตุใด เพื่ออย่างน้อยที่สุดเวลาที่ท่านมีอาการปวด ชา หรืออาการอ่อนแรง จะได้พิจารณาตัวเองว่าควรจะรักษาเช่นไรให้ถูกทาง ปวดคอ บ่า สาเหตุจากอะไร สำหรับอาการดังกล่าว เราต้องทราบถึงสาเหตุหรือที่มาของอาการ รวมถึงเข้าใจลักษณะของร่างกายเราก่อน เนื่องจากว่าตรงบริเวณ คอ บ่า สะบัก และแขนของเรานั้น มีสิ่งใดที่เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกันอยู่ ซึ่งตรงนี้เชื่อว่าหลายคนทราบดีอยู่แล้วว่าคอของคนเรานั้น เป็นบริเวณที่ควรมีการระมัดระวังอย่างยิ่งยวดเนื่องจากเป็นส่วนของร่างกายที่รวมเส้นประสาทเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองแล้ว ยังมีส่วนที่โยงยาวไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและข้อต่อตลอดสะบักและแขน ทั้งยังช่วยในการนำคำสั่งจากสมองเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว(motor nerves ) เป็นส่วนที่นำคำสั่งสู่สมองให้ได้รับรู้ความรู้สึกเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ต่างๆด้วย (sensory nerves) ตลอดเส้นทางผ่านของเส้นประสาทนั้นยังมีกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ และข้อศอก ที่เป็นทางลอดผ่านของเส้นประสาทเหล่านี้ หากกล้ามเนื้อมัดเหล่านี้มีปัญหาก็เป็นเหตุให้เกิดอาการดังที่กล่าวข้างต้นได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเวลามีอาการปวดหรือชา เรามักเหมารวมว่าอาจจะเป็นคอเสื่อม มีกระดูกงอก ทำให้มีอาการปวดคอร้าวลงแขน ทำให้มือชา แต่ความเป็นจริงแล้วอาการที่ดูคล้ายกัน ในทางคลินิกเฉพาะทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อนั้น มีวิธีทดสอบเพื่อเป็นการยืนยันว่าอาการที่เป็นนั้นมีสาเหตุมาจากส่วนใด…

ปวดหัว ปวดบ่า ปวดคอ คอเสื่อม ปวดร้าวขึ้นศีรษะเหมือนเป็นปวดไมเกรน

จากสถิติท่านที่เดินมาหาเรา Ariya Wellness Center มากกว่าครึ่งมาด้วยอาการปวดหัว ปวดคอ ปวดร้าวขึ้นศีรษะเหมือนเป็นไมเกรน อยากทราบไหมคะว่าท่านที่มานั้นมาด้วยอาการอย่างไรบ้าง แล้วท่านผู้อ่านเองเคยมีอาการเช่นนี้หรือไม่

สถาบันปรับโครงสร้างร่างกายอริยะ

รวมปรับโครงสร้างร่างกายต้านภัยทุกโรค

อีกไม่กี่วันปีนี้ก็จะผ่านไปอีกหนึ่งปี เวลาเดินหน้าไปเรื่อยๆจนหลายๆท่านอาจอาจเผลอลืมในสิ่งที่ตนเองต้องการจะทำ แต่สิ่งหนึ่งที่เราอยากให้ท่านได้สนใจและดูแลเป็นอย่างดีนั่นก็คือ “ร่างกายและจิตใจ”ของตัวท่านเอง เราพูดกันมาตลอดทั้งปีว่าอยากให้ท่านได้เห็นคุณค่าในร่างกายและจิตใจตนเอง หันมาเอาใจใส่ หันมาดูแลตัวเองในแนวการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ อย่าต้องรอให้ถึงขั้นที่จะต้องจัดว่าเป็นโรคไปเสีย เพราะหากท่านติดตามมาตลอดท่านก็คงทราบดีว่า คำว่าโรคแล้วนั้นยากยิ่งนักต่อการที่จะทำร่างกายอันสมบูรณ์ที่ธรรมชาติพึงสรรค์สร้างขึ้นมานึ้จะกลับมีประสิทธิภาพได้เหมือนดังเดิม สำหรับหลายๆ ท่านที่ต้องการจะทบทวน และท่านที่อาจจะพลาดหัวข้อที่เราได้พูดถึงโรคและอาการต่างๆ ในรอบปีนี้ที่ผ่านมา ฉบับนี้เราจึงรวบรวมนำเอาต้นเหตุของโรคและอาการต่างๆ มาทบทวนเพื่อท่านจะได้ตระหนักถึงความสำคัญและนำเอาความรู้เบื้องต้นไปปฏิบัติ นำไปใช้ จนทำให้กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องฝืนทำ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ได้มาซึ่งการมีสุขภาพดีไม่เจ็บไม่ไข้ ไมเกรน – ปวดศีรษะจากการตึงเครียด สาเหตุของไมเกรนเกิดจากภาวะที่ร่างกายหลั่งสารบางอย่างแล้วมีผลทำให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ปลายประสาทที่ผนังหลอดเลือดถูกกระตุ้น แล้วทำให้เกิดปวดศรีษะ ปวดศีรษะจากการตึงเครียด มีสาเหตุการใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป จะทำให้กล้ามเนื้อตึงตัวและจำกัดการไหลเวียนของเลือด ที่ไปเลี้ยงสมอง หรือเป็นภาวะที่กล้ามเนื้อเกร็งตัวมากๆ แล้วมีอาการปวดร้าวขึ้นศีรษะ ตามแนวจุดเกาะของกล้ามเนื้อคอ-บ่า ซึ่งร้าวขึ้นศีรษะได้   หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากความไม่สมดุลของระบบกระดูกกล้ามเนื้อโดยตรง ในภาวะปกติร่างกายจะสมดุล กระดูกจะเรียงตัวกันในแนวความโค้งที่เหมาะสม การทำงานของร่างกายก็เป็นไปอย่างปกติ แต่เมื่อไรที่สมดุลของร่างกายนี้เสียไป การเรียงตัวของกระดูกไม่อยู่ในแนวที่ถูกต้องมีร่างกายถูกกระทบด้วยแรงภายนอก หรือจากการทำงานก็จะทำให้มีผลต่อการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกได้ แต่ด้วยกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นประสาทเป็นโครงสร้างที่อยู่ด้วยกันจึงทำให้เมื่อมีความผิดปกติของส่วนใดส่วนหนึ่งจะกระทบทันทีต่อส่วนที่อยู่รอบๆด้วย กระดูกสันหลังคด ในปัจจุบันพบว่าภาวะนี้เกิดขึ้นมากในช่วงเด็กวัยรุ่น เหตุก็เกิดจากความทันสมัยของโลกโลกาอภิวัฒน์ ที่เด็กสมัยนี้มีกิจกรรมของร่างกายลดลง เวลาส่วนใหญ่อยู่ในกรอบของโลกสื่อสารไร้สาย วันหนึ่งๆจะอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ที่ต้องทรงท่าเดิมตลอดเวลา จนทำให้กล้ามเนื้อทำงานในท่าเดิมๆ และเป็นท่าที่ผิด จึงทำให้กระดูกคด เสื่อมกว่าเวลาอันควร…

ปรับโครงสร้างร่างกายต้านภัย ปวดคอ

ปรับโครงสร้างร่างกายต้านภัย “ปวดคอ”

ปรับโครงสร้างร่างกาย ช่วยลดอาการปวดคอ ลดความเสี่ยงเสียสุขภาพชีวิต เนื่องจากผู้คนในสังคมปัจจุบันที่ยังต้องดิ้นรนทำมาหาเลี้ยงชีพอยู่นั้น เชื่อได้แน่เลยว่าเกือบทุกอาชีพมีลักษณะการทำงานที่มักต้องทำอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ เกือบทุกคนต้องก้มคอต้องก้มหลังทำงาน บ้างก็เป็นการทำงานที่ต้องนั่งหรือยืนทำท่าที่ซ้ำๆ ต้องอยู่ในท่าเดิมนานต่อเนื่องเป็นเวลานาน แล้วผลจากการอยู่ในท่าทางดังกล่าวจึงทำให้วัยทำงานประสบปัญหากับอาการปวดคอ บ่า ปวดร้าวขึ้นศีรษะ นอนไม่หลับ หงุดหงิด กระสับกระส่าย สมาธิสั้นรบกวนการทำงาน บางทีอาจมีอาการปวดร้าวลงแขน หรือมีอาการอ่อนแรงของแขนร่วมด้วย หนักไปกว่านั้นอาจจะพบว่ามีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจไม่ค่อยอิ่ม เหนื่อยง่าย ต้องพึ่งยาแก้ปวดบ่อยๆ ฯลฯ เป็นต้น แล้วเราจะแก้ไขหรือป้องกันได้อย่างไรดี อาการปวดคอ สาเหตุมาจากอะไร โดยมากแล้ว สาเหตุที่มีอาการเหล่านี้ก็เนื่องมาจากท่าทางการทำงานที่ผิดปกติ ส่งผลให้กระดูกกล้ามเนื้ออยู่ในแนวที่ไม่ถูกต้องเป็นต้นว่าการนั่งทำงานส่วนใหญ่ที่ต้องนั่งก้มไปด้านหน้า หลังค่อม ไหล่งุ้ม คอและคางยื่น ศีรษะยื่นไปด้านหน้า แล้วถ้าหากเป็นงานที่ต้องใช้แรงแขนหรือออกแรงมาทางด้านหน้าทั้งที่ยังก้มอยู่ ตัวอย่างเช่น หมอฟัน ก็อาจก่อให้เกิดปัญหายิ่งกว่าปกติด้วยซ้ำ เพราะกล้ามเนื้อหน้าอกก็จะยิ่งเกร็งมากขึ้น จากท่าทางที่กล่าวมา จะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อต้นคอด้านหน้า กล้ามเนื้อหน้าอก กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจช่วยในการขยายตัวของชายโครง(Internal intercostals muscle) จะหดสั้นลง และรั้งจนทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงคอและช่วงอกค่อม หากมีการยึดรั้งมากๆ จะทำให้ไม่สามารถหายใจเข้าลึกๆ ให้เต็มปอดได้ การขยายตัวของชายโครงขยายตัวได้น้อยอากาศก็จะเข้าได้น้อยด้วย นอกจากนี้ ออกซิเจน (Oxygen) ก็ถือเป็นอาหารของเนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆหากร่างกายนำไปใช้ได้น้อยก็จะทำให้เซลล์ไม่แข็งแรง อ่อนแอและไม่สามารถต้านภัยต่างๆที่จะกระทำต่อร่างกายได้…

ปวดคอ ปวดไหล่ ไหล่ติด เล่นมือถือนาน

เตือนภัย ปวดคอ ปวดไหล่ ไหล่ติด สาเหตุและอาการ ป้องกันและรักษา สัญญาณเตือนจากร่างกาย (ตอนที่ 22)

ปวดคอ ปวดไหล่ ไหล่ติด สาเหตุและอาการ นี่คือการส่งสัญญาณเตือนจากร่างกายแล้วว่า เราใช้งานหนักเกินไป ไม่ก็มีจากปัจจัยอื่นๆ ซึ่งอาจส่งผลเสียแบบเรื้อรังในระยะยาวก็ได้ ดังนั้นเรามาลองดูกันว่า จะป้องกันและรักษา ดูแลร่างกายของเราอย่างไรดี ฉบับนี้ผู้เขียนมีเรื่องราวของกรณีศึกษาอีกเคสหนึ่งมาแบ่งปันให้ท่านผู้อ่านได้ติดตามกันค่ะ เคยได้ยินไหมคะว่า โรคภัยไข้เจ็บของคนในยุคปัจจุบันนี้มักมากับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี่ต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วสิ่งใดๆ ในโลก แม้มีประโยชน์ หากใช้ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกทาง มักก่อให้เกิดโทษมหันต์ เฉกเช่นเดียวกับเทคโนโลยี่อันล้ำยุคในปัจจุบันที่เรียกกันว่ายุคของ Social media ผู้คนติดต่อสื่อสารกันผ่านโลกอินเตอร์เน็ต ติดสมาร์ทโฟน ติดแทปเลท ติด ipad iphone หันไปทางไหนก็เห็นคนก้มมองจอตลอดเวลา ผู้คนสื่อสารกันแบบไม่ต้องเห็นหน้า ไม่ต้องสบตา พิมพ์ตัวอักษรผ่านเครื่องมือซึ่งมีขนาดเล็ก หากลองหลับตานึกภาพก็จะเห็นท่าทางของผู้คนที่ก้มคอ คางยื่น หลังค่อม ไหล่งุ้ม ตัวงอมาด้านหน้า ฯลฯ อยากจะบอกท่านผู้อ่านว่าท่าทางทั้งหมดนั้นส่งผลเสียต่อโครงสร้างร่างกายมากๆ เลยค่ะ ปวดคอ ปวดไหล่ ไหล่ติด เล่นมือถือนาน สำหรับฉบับนี้เป็นเรื่องราวของคนไข้อายุ 67 ปีที่ติดเล่นเกมส์ในสมาร์ทโฟน ท่านอ่านแล้วอาจอมยิ้มได้นะคะ ผู้เขียนไม่ได้เขียนผิดค่ะ ท่านแจ้งว่าท่านเกษียณนานแล้ว อยู่บ้านเฉยๆ ลูกเลยซื้อสมาร์ทโฟนให้ ท่านบอกว่าท่านติดเกมส์ชนิดหนึ่งซึ่งดูเหมือนใครๆก็ติดเกมส์ชนิดนี้ เกมส์นี้เป็นการเล่นที่ต้องใช้นิ้วและข้อมือทั้งสองข้างในการทำงานค้างไว้ตลอด…