อารมณ์กับโครงสร้างร่างกาย

อารมณ์ต่างๆที่เราต้องประสบอยู่ทุกๆ วัน มีผลต่อโครงสร้างร่างกายโดยตรง ซึ่งเมื่อคนเรามีภาวะอารมณ์ ที่ออกไปทางเชิงลบ ภาวะอารมณ์แบบนี้จะไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมฮอร์โมน ในร่างกายและระบบประสาทให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

สุขภาพดีวิถี 7 อ. กับอริยะ 7

ในทางสรีรวิทยาแล้ว อารมณ์ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อโครงสร้างร่างกายโดยตรง หากมองจากภายนอก คนที่อารมณ์ดี มักมีหน้าตาที่สดชื่นแจ่มใส จิตใจเบิกบาน ยืน เดิน นั่ง นอน ก็ดูสง่าผ่าเผย ดูเป็นคนบุคลิกภาพดี แต่ตรงกันข้ามคนที่อารมณ์ห่อเหี่ยว จิตใจเศร้าหมอง ไม่สดใส มักมีใบหน้าที่เคร่งเครียด

อิริยาบถที่อาจก่อให้เกิดโรค

ตอนที่ 1 อิริยาบถใหญ่ทั้ง 4 พฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดโรค “จิตใจที่แจ่มใสย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง” เป็นความจริงที่เราทราบกันดี แต่ขาดความตระหนักถึงความสำคัญ จึงละเลยไม่สนใจปฏิบัติอย่างแท้จริง ทุกคนอยากมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง แต่มีน้อยนักที่จะสร้างเหตุเพื่อความแข็งแรงด้วยการป้องกัน ส่วนใหญ่ต้องให้สุขภาพย่ำแย่รุนแรงถึงขั้นเป็นโรค จึงจะหาทางรักษา ซึ่งก็ยากที่จะหายและสูญเสียทรัพย์สิน / เวลา / สภาพจิตใจมากกว่าการป้องกันหลายเท่าตัว ในสังคมปัจจุบันคนทุกวัยต่างก็หาแนวทางในการดูแลสุขภาพเพื่อให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มากขึ้น แต่กลับมองข้ามเรื่องใกล้ตัวที่เป็นพื้นฐานหลักในการสร้างให้มีสุขภาพที่แข็งแรงห่างจากโรคภัย นั่นก็คือ อิริยาบถใหญ่ทั้ง 4 ยืน เดิน นั่ง นอน “โรคเกิดจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม” และอิริยาบถใหญ่ทั้ง 4 ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวมากที่สุด เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงได้ ท่าทางในชีวิตประจำวันของคนเราหากอยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง อยู่ในท่าทางซ้ำๆต่อเนื่องเป็นเวลา นาน จะทำให้มีความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย คือ ระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อ เส้นเอ็น หลอดเลือด เส้นประสาท ระบบขับของเสีย ( น้ำเหลือง ) ความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย อาจจะเป็นสะพานเชื่อมให้เกิดโรคที่รุนแรง เป็นต้นเหตุของความพิการหรือเสียชีวิตในที่สุด ท่านั่ง 2 ใน 3…

อิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน

ตลอด 24 ชั่วโมงของการใช้ร่างกายคนเรา หนีไม่พ้นอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน และอิริยาบถเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดโรคได้ การใช้งานของร่างกาย ถ้าใช้หนักเกินไปก็ช้ำ ใช้น้อยเกินไปก็เฉา จึงต้องใช้ให้สมดุลการใช้ร่างกายไม่สมดุล

อิริยาบถยืน

เมื่อยืนผิดท่า การลงน้ำหนักที่เท้าทั้งสองข้างไม่สมดุล จะทำให้เกิดการบิดหมุนของกระดูกเชิงกราน จะส่งผลโดยตรงต่อกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการ “บิด-คด” ได้

อิริยาบถ นั่ง

ในอดีตอาการปวดต่างๆ ภายในร่างกาย ความผิดปกติของระบบกระดูกกล้ามเนื้อ มักเกิดจากอุบัติเหตุ การทำงานหนัก หรือความเสื่อมตามช่วงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันพบว่า สาเหตุหลักของความผิดปกติเกิดจากการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งเคลื่อนไหวซ้ำๆในท่าทางเดิมๆ อย่างต่อเนื่อง จึงส่งเสริมให้มีความผิดปกติของระบบกระดูกกล้ามเนื้อได้มากมาย “อิริยาบถนั่ง” เป็นหนึ่งในสี่ของอิริยาบถใหญ่ที่คนเราใช้มากเกือบทั้งวัน และมักนั่งในท่าที่ไม่ถูกต้อง ด้วยความเคยชินสะสมเป็นเวลานาน การทำงานของกล้ามเนื้อในร่างกายจะขาดความสมดุล กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่เป็นต้นเหตุของโรคและความเจ็บป่วยของคนในยุคปัจจุบันตั้งแต่วัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่ จากความเคยชินของแต่ละคนที่แตกต่างกัน จิตใจที่จดจ่ออยู่กับงานการไม่มีสติรู้กาย ก็ทำให้รูปแบบของอิริยาบถนั่งออกมาได้หลายรูปแบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้กล้ามเนื้อและข้อต่อทำงานหนักมากเกินไป ขอยกตัวอย่างท่านั่งที่เป็นท่าฮิตที่เคยชิน แต่ส่งผลต่อระบบกระดูกกล้ามเนื้อหรือโครงสร้างร่างกายของคนเราดังนี้ 1. การนั่งไขว่ห้าง เป็นท่าที่นิยมและเคยชินกันว่าดูบุคลิกดี แต่เป็นความเข้าใจผิดอย่างสูง เพราะตามปกติของการนั่ง ควรจะลงน้ำหนักที่ก้นทั้งสองข้างเท่าๆกัน จะทำให้การกระจายน้ำหนักของลำตัวสมดุล ข้อต่อและกล้ามเนื้อทำงานน้อยลง แต่การนั่งไขว่ห้าง น้ำหนักจะเกิดมากที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง มีผลต่อข้อต่อกล้ามเนื้อรอบสะโพก ยาวไปถึงศีรษะ ทำให้กระดูกสันหลังเกิดการบิดคด การทำงานของกล้ามเนื้อข้างกระดูกไม่สมดุล กล้ามเนื้อที่เกาะอยู่ระหว่างชายโครง ( Intercostal muscle ) เกร็งรั้งมากขึ้น สะสมนานเข้าทำให้เกิดภาวะกระดูกสันหลังคด มีผลต่อเส้นประสาทที่อยู่ด้านข้างของกระดูกสันหลังทั้งแนว มีผลต่อการกระจายน้ำหนักที่หมอนรองกระดูก เสี่ยงต่อภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมและเคลื่อนทับเส้นประสาท การทำงานของอวัยวะภายในช่องอกถูกจำกัดลง เพราะกล้ามเนื้อที่เกาะระหว่างชายโครงทำงานผิดปกติ ทำให้หายใจไม่เต็มปอด ปอดขยายตัวได้น้อย หัวใจต้องบีบตัวแรงขึ้น ถี่ขึ้น…

อิริยาบถ นอน

ในคืนหนึ่งๆ เรานอน 5 – 8 ชม. หากนอนอยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้องยาวนาน กล้ามเนื้อเกร็งตัวถาวร และดึงกระดูกให้ผิดรูปในที่สุด เมื่อกระดูกผิดรูปก็ส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของระบบประสาท สั่งการในร่างกาย เป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นบันไดให้เกิดความเจ็บป่วยที่รุนแรงในอนาคตได้

อิริยาบถ เดิน

ท่วงท่าการเดินของแต่ละคนแตกต่างกันออกไปตามความเคยชิน ตามสภาพร่างกาย ตามความแข็งแรงของโครงสร้างร่างกาย น้อยคนนักจะทราบว่า การเดินในท่าทางบางอย่างอาจเป็นต้นเหตุให้เกิดความเจ็บป่วย หรือเป็นบันไดที่จะก่อให้เกิดโรคร้ายแรงถึงชีวิตได้