วางแผนสุชภาพดีรับปีใหม่

คมชัดลึกครั้งที่ 20 มาวางแผนเพื่อการมีสุขภาพดีอย่างแท้จริงรับปีใหม่กันเถอะ

เผลอแป๊บเดียวจะสิ้นปีอีกแล้วนะคะ หลายท่านคงเริ่มทบทวนตัวเองแล้วว่า ปีที่ผ่านมามีสิ่งใดบ้างที่ยังไม่ได้ทำ และคงเตรียมแผนสำหรับวิถีชีวิตใหม่ๆ ต้อนรับปีใหม่ที่จะมาถึงเร็วๆ นี้

bss-service-banner

BSS การตรวจโครงสร้างร่างกาย

เพราะความเจ็บปวดของร่างกายที่แสดงออกในแต่ละจุดนั้น สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เจ็บปวดอาจไม่ใช่จุดที่แสดงอาการ ดังนั้นหากเราหาต้นตอที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดได้ ก็จะทำให้เราสามารถรักษาอาการปวดให้หายได้อย่างถาวร

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกเคลื่อนทับเส้น

เตือนภัย หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกเคลื่อน ดูอาการและการป้องกัน (ตอนที่ 21)

เคสนี้มาด้วยอาการปวดและเสียวที่หลังช่วงบั้นเอว ปวดแบบแปล๊บๆ ทุกครั้งที่มีการขยับตัวเปลี่ยนท่า และที่รุนแรงกว่านั้นคือ ทุกครั้งที่มีการลุกขึ้นยืนจะรู้สึกปวดร้าวไปตามด้านหลังเยื้องไปด้านข้างขาตลอดแนวจนถึงปลายเท้า ร่วมกับมีอาการชาด้วยค่ะ อาการดังกล่าวมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อต้องเดินหรือยืนต่อเนื่องเพียงแค่ 5 – 10 นาทีก็จะรู้สึกปวดมาก

ระวังสุขภาพ ในการเดินทาง ภัยจากการเดินทาง

ระวังสุขภาพ ในการเดินทาง เสียงเตือนภัยจากร่างกาย 1 (ตอนที่ 17)

ระวังสุขภาพ ในการเดินทาง เผลอแปล๊บเดียวจะสิ้นปีอีกแล้วนะคะท่านผู้อ่าน เหมือนพึ่งจัดงานปีใหม่ไปไม่นาน แต่หลายท่านก็เตรียมตัวเตรียมใจต้อนรับปีใหม่อีกปีแล้ว และสิ่งหนึ่งที่ช่วงเทศกาลปีใหม่จะคึกคักเป็นพิเศษ นั่นคือการได้หยุดงานต่อเนื่องหลายวัน (สำหรับบางท่านที่ไม่ได้หยุดก็ถือซะว่ากรุงเทพฯช่วงนี้น่าอยู่ที่สุดค่ะ คนไม่มาก รถก็ไม่ติด) หลายท่านก็คงมีโปรแกรมวางแผนจะเดินทางกันแล้วใช่ไหมล่ะคะ อาจต้องกลับต่างจังหวัด วางแผนไปเที่ยวไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศ ต่างก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจกันไว้แล้วนะคะ แต่สิ่งหนึ่งที่หลายท่านมักลืมหรือมองข้ามไป นอกเหนือจากการเตรียมสัมภาระ หรือตั๋วสำหรับการเดินทางนั่นก็คือ “ร่างกายของตนเอง” ระวังสุขภาพ ในการเดินทาง หากท่านจดจำการเดินทางในแต่ละครั้งได้ไม่ว่าจะเป็นโดยเครื่องบิน เรือ รถไฟ รถทัวร์ รถส่วนตัว (ทั้งขับรถเองหรือมีคนขับรถให้) ไม่ว่าจะภายในประเทศหรือต่างประเทศ ฯลฯ ท่านจำได้ไหมคะว่าในการเดินทางแต่ละครั้งร่างกายท่านส่งเสียงใดบอกท่านหรือเปล่า? หากถามอาการทันที เพียงแค่นึกหลายท่านตอบได้ทันทีว่า เมื่อย อาการเมื่อยคือ อาการที่ไม่สบายเนื้อตัว รู้สึกฝืดๆ ตัวไปหมด ไม่คล่อง อาการนี้ถือเป็นธรรมดาที่ร่างกายส่งเสียงบอกเราว่าเพราะการเดินทางนั้น ซึ่งไม่เพียงแต่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวจึงทำให้เกิดอาการเมื่อย แต่ที่มากกว่านั้นแล้วเราไม่รู้ตัว คือแรงกระชากในการเคลื่อนตัวของความเร็วของสิ่งที่เราโดยสารอยู่ ซึ่งเป็นแรงที่ร่างกายต้องเกร็งกล้ามเนื้อแนวกระดูกสันหลังชั้นลึกตลอดเวลาโดยที่เราไม่รู้สึกตัว ฯลฯ (ความรู้สึกตัวนี้จะเกิดขึ้นได้ถ้าเราเข้าใจโครงสร้างร่างกาย และออกกำลังกล้ามเนื้อ มัดลึกเป็น พร้อมการฝึกความรู้สึกตัว) จากที่กล่าวมาหลายท่านพักสักวันอาการก็ดีขึ้น แต่หากท่านใดมีประสบการณ์จากการเดินทางที่ร่างกายรู้สึกย่ำแย่ ไม่เพียงแค่อาการเมื่อยธรรมดาอย่างที่กล่าว แต่เสียงของร่างกายที่บอกจากการเดินทางมันมีมากมายกว่านั้นมาก ระวังสุขภาพ ในการเดินทาง ปวดเมื่อยหลัง ขอยกตัวอย่างอาการต่างๆ ที่เป็นเสียงเตือนของร่างกาย…

จุกแน่นหน้าอก เสียดในใต้ชายโครง

จุกแน่นหน้าอก เสียดในใต้ชายโครง กล้ามเนื้อมัดลึกที่ควรรู้ (ตอนที่ 14)

จุกแน่นหน้าอก เสียดในใต้ชายโครง สาเหตุจากอะไร เรื่องของ กล้ามเนื้อมัดลึก ภัยเงียบที่มักเกิดจากชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ กว่าจะรู้ตัวก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ จุกแน่นหน้าอก เสียดในใต้ชายโครง คืออะไร เสียงเตือนจากร่างกายฉบับนี้ ผู้เขียนเองได้รับฟังเสียงจากร่างกายหลายๆท่านที่มักจะมาด้วยปัญหาเหมือนๆกัน เลยทำให้นึกได้ว่า คงมีผู้ที่มีอาการเช่นนี้จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ในสังคมยุคที่ต้องเร่งรีบ ทุ่มเทให้การทำงานจนลืมร่างกาย และเกือบทั้งหมดของผู้ที่มีอาการเหล่านี้ได้ผ่านการพบแพทย์ที่โรงพยาบาลแล้ว ได้ถูกส่งให้ตรวจเช็คการทำงานของหัวใจ (EKG) ตรวจเช็คการทำงานของปอด (Chest X-Ray) หลายท่านได้ตรวจเช็คด้วย MRI ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่ทั้งหมดที่ได้รับการตรวจก็ไม่อาจตอบโจทย์ของหลายๆท่านที่มีปัญหานี้ได้ เพราะผลคือไม่พบความผิดปกติใดๆ เสียงเตือนจากร่างกายที่จะกล่าวในรอบนี้ก็คือ อาการจุก เสียด แน่น เจ็บในอกใต้ชายโครง หายใจไม่อิ่ม บางครั้ง ที่ต้องเคลื่อนไหวลำตัว ยกของหนัก หรือบิดลำตัวจะรู้สึกเสียวแปล๊บอยู่ในใต้ชายโครง ลึก ๆ ซึ่งหลายท่านบอกไม่ถูกว่าตำแหน่งไหน ทราบเพียงว่ามันลึกอยู่ในใต้ชายโครง หรือแน่นในอก อยู่ใต้สะบัก บางท่านเมื่อหายใจลึกจะรู้สึกเสียว เจ็บลึกๆ บางท่านก็บอกว่าเจ็บจี๊ดๆ อยู่ลึกๆด้านใน เหมือนมีวัตถุแหลมๆ ทิ่มอยู่ด้านใน บ้างก็บอกว่าซ่าๆ ชาๆ รู้สึกอึดอัดแน่นๆในอก หายใจได้ไม่สุด จุกแน่นหน้าอก เสียดในใต้ชายโครง…

ง่วง เพลีย ล้า นอนมาก หาว

ง่วง เพลีย ล้า นอนมาก…..แต่ง่วงทั้งวัน สาเหตุเพราะอะไร (ตอนที่ 13)

ง่วง เพลีย ล้า นอนมาก หาวแล้วหาวอีก ตาจะปิดอยู่แล้ว รู้สึกหนังตามันหนักๆจะปิดตลอดเวลา ใครที่ชอบมีอาการเป็นเช่นนี้บ้าง? เคยสงสัยหรือไม่ว่าเพราะอะไร ? (โดยเฉพาะคนทำงานออฟฟิศจะเป็นกันบ่อยมาก) ง่วง เพลีย ล้า อาการ หลายท่านคงพยักหน้า เมื่อพูดถึงอาการง่วงๆ เพลียๆ ล้าๆ ก็คงเป็นเรื่องปกติของมนุษย์เรา แต่ถ้าอาการเหล่านี้ ไม่สมเหตุสมผลที่เป็น ก็คงจะไม่ใช่เรื่องปกติอีกต่อไป ขอยกตัวอย่างคนที่มีอาการง่วง-เพลีย-ล้า จากเหตุที่ผิดปกติให้ฟังคร่าวๆ พร้อมตัวอย่างอาการบางอย่างของร่างกายที่ไม่ใช่เรื่องปกติ และอาจจะกลายเป็นความผิดปกติแบบไม่รู้ตัว ดังนี้ นอนเร็ว ตื่นสาย วันหนึ่งนอน 6 – 7 ชั่วโมงก็ยังง่วง ลืมตาขึ้นมาก็ไม่อยากลุกขึ้นจากที่นอน รู้สึกร่างกายมันล้าๆไปหมด พยายามดูแลตัวเองมาสักช่วงหนึ่งแล้ว ใครว่าอะไรดีก็ซื้อมาทาน ออกกำลังกายก็แล้ว นอนมากก็แล้ว แต่ยังล้า และเพลียมากอยู่ รู้สึกตามเนื้อตัวมันล้าๆ เมื่อยๆ ไปหมด ไปนวดก็แล้ว แต่เหมือนร่างกายยังไม่ตื่น หัวตื้อๆ อึนๆ มึนๆ งงๆ ทั้งวัน คิดอะไรไม่ค่อยออก หัวไม่ค่อยแล่น…

ปวดไหล่ ไหล่ติด ปวดร้าวลงแขน

ตอนที่ 4 ปวดไหล่ ไหล่ติด ปวดร้าวลงแขน นิ้วล็อค มือชา สาเหตุ และการป้องกัน รักษา

ปวดไหล่ ไหล่ติด ปวดร้าวลงแขน นิ้วล็อค มือชา อาการที่เป็นสัญญาณเตือนภัยจากร่างกาย ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เมื่อฉบับที่แล้วเราได้รับความรู้ว่า บ่า สะบัก ไหล่ เป็นส่วนของร่างกายที่มีผลต่อกันโดยตรง ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาก็จะเกิดต่อเนื่องกันทั้งสามส่วน แต่ก็ยังมีอีกส่วนของร่างกายที่เป็นความเชื่อมต่อ โดยไม่สามารถแยกออกจากกันได้นั่นก็คือ แขนและมือของเรานั่นเอง หลายท่านอาจเคยประสบปัญหา หรืออาจได้ยินคนรอบข้างมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดไหล่ ไหล่ติด อาการ ปวดไหล่ ไหล่ติด เสียวในหัวไหล่ ปวดร้าวลงแขน เสียวแปล๊บจากหัวไหล่ถึงศอก หรือเสียวจากเหนือข้อศอกถึงมือขณะขยับ เหยียดแขน ปวดลึกๆ ร้าวตามแนวด้านหลังต้นแขน ชาแขน ชามือ ชาตามปลายมือ นั่งทำคอมฯนานๆ แล้วปวดมือ มืออ่อนแรง เสียวแปล๊บตามข้อมือ ตามเส้นเอ็นที่นิ้วหัวแม่มือ หยิบจับของแล้วของล่วงบ่อยๆ มือแข็งกำไม่ลง(โดยเฉพาะตอนเช้าๆ) นิ้วล็อค กำมือแล้วเหยียดนิ้วออกจะเจ็บหรือเหยียดไม่ออก ปวดข้อมือ ปวด-ชาในมือจนนอนไม่หลับต้องตื่นบ่อยๆ กลางดึก ฯลฯ อาการเหล่านี้หลายท่านคิดว่า เป็นๆ หายๆ คงไม่เป็นไร จึงแก้ไขปัญหาด้วยวิธีรักษาเฉพาะจุดที่มีอาการปวด เพราะต่างก็เข้าใจว่าปวดตรงไหนก็แก้ตรงนั้น ก็นวดตรงนั้น แต่นั่นไม่ใช่การแก้ที่ต้นเหตุ เพราะร่างกายเราเชื่อมโยงกันทั้งตัว…