migraine-tension-headache-brain-tumor

คมชัดลึกครั้งที่18 ปวดศีรษะ ไมเกรน & ปวดจากความตึงของกล้ามเนื้อ & เนื้องอกในสมอง (ตอนที่ 2)

ฉบับนี้มาว่าด้วยอาการปวดที่หลายท่านเป็นกังวลเนื่องจากความปวดที่รบกวนในชีวิตประจำวันค่อนข้างมากจึงต้องคิดไปต่าง ๆ นานา บางเคสกังวลมากถึงกับต้องเสียค่าใช้จ่ายในการไปตรวจ CT Scan สมอง ทั้งๆ ที่อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นไม่มีข้อไหนเข้าเกณฑ์ที่จำเป็นต้องไปเสียค่า Scan

สถาบันปรับโครงสร้างร่างกายอริยะ

รวมปรับโครงสร้างร่างกายต้านภัยทุกโรค

อีกไม่กี่วันปีนี้ก็จะผ่านไปอีกหนึ่งปี เวลาเดินหน้าไปเรื่อยๆจนหลายๆท่านอาจอาจเผลอลืมในสิ่งที่ตนเองต้องการจะทำ แต่สิ่งหนึ่งที่เราอยากให้ท่านได้สนใจและดูแลเป็นอย่างดีนั่นก็คือ “ร่างกายและจิตใจ”ของตัวท่านเอง เราพูดกันมาตลอดทั้งปีว่าอยากให้ท่านได้เห็นคุณค่าในร่างกายและจิตใจตนเอง หันมาเอาใจใส่ หันมาดูแลตัวเองในแนวการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ อย่าต้องรอให้ถึงขั้นที่จะต้องจัดว่าเป็นโรคไปเสีย เพราะหากท่านติดตามมาตลอดท่านก็คงทราบดีว่า คำว่าโรคแล้วนั้นยากยิ่งนักต่อการที่จะทำร่างกายอันสมบูรณ์ที่ธรรมชาติพึงสรรค์สร้างขึ้นมานึ้จะกลับมีประสิทธิภาพได้เหมือนดังเดิม สำหรับหลายๆ ท่านที่ต้องการจะทบทวน และท่านที่อาจจะพลาดหัวข้อที่เราได้พูดถึงโรคและอาการต่างๆ ในรอบปีนี้ที่ผ่านมา ฉบับนี้เราจึงรวบรวมนำเอาต้นเหตุของโรคและอาการต่างๆ มาทบทวนเพื่อท่านจะได้ตระหนักถึงความสำคัญและนำเอาความรู้เบื้องต้นไปปฏิบัติ นำไปใช้ จนทำให้กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องฝืนทำ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ได้มาซึ่งการมีสุขภาพดีไม่เจ็บไม่ไข้ ไมเกรน – ปวดศีรษะจากการตึงเครียด สาเหตุของไมเกรนเกิดจากภาวะที่ร่างกายหลั่งสารบางอย่างแล้วมีผลทำให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ปลายประสาทที่ผนังหลอดเลือดถูกกระตุ้น แล้วทำให้เกิดปวดศรีษะ ปวดศีรษะจากการตึงเครียด มีสาเหตุการใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป จะทำให้กล้ามเนื้อตึงตัวและจำกัดการไหลเวียนของเลือด ที่ไปเลี้ยงสมอง หรือเป็นภาวะที่กล้ามเนื้อเกร็งตัวมากๆ แล้วมีอาการปวดร้าวขึ้นศีรษะ ตามแนวจุดเกาะของกล้ามเนื้อคอ-บ่า ซึ่งร้าวขึ้นศีรษะได้   หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากความไม่สมดุลของระบบกระดูกกล้ามเนื้อโดยตรง ในภาวะปกติร่างกายจะสมดุล กระดูกจะเรียงตัวกันในแนวความโค้งที่เหมาะสม การทำงานของร่างกายก็เป็นไปอย่างปกติ แต่เมื่อไรที่สมดุลของร่างกายนี้เสียไป การเรียงตัวของกระดูกไม่อยู่ในแนวที่ถูกต้องมีร่างกายถูกกระทบด้วยแรงภายนอก หรือจากการทำงานก็จะทำให้มีผลต่อการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกได้ แต่ด้วยกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นประสาทเป็นโครงสร้างที่อยู่ด้วยกันจึงทำให้เมื่อมีความผิดปกติของส่วนใดส่วนหนึ่งจะกระทบทันทีต่อส่วนที่อยู่รอบๆด้วย กระดูกสันหลังคด ในปัจจุบันพบว่าภาวะนี้เกิดขึ้นมากในช่วงเด็กวัยรุ่น เหตุก็เกิดจากความทันสมัยของโลกโลกาอภิวัฒน์ ที่เด็กสมัยนี้มีกิจกรรมของร่างกายลดลง เวลาส่วนใหญ่อยู่ในกรอบของโลกสื่อสารไร้สาย วันหนึ่งๆจะอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ที่ต้องทรงท่าเดิมตลอดเวลา จนทำให้กล้ามเนื้อทำงานในท่าเดิมๆ และเป็นท่าที่ผิด จึงทำให้กระดูกคด เสื่อมกว่าเวลาอันควร…

ปรับโครงสร้างร่างกายต้านภัย “โรคไมเกรน”

ตอนที่ 1 โรคไมเกรน(Migraine)/ปวดศีรษะจากการตึงเครียด (Tension-type headache) ไมเกรน เป็นอาการปวดศีรษะ ของคนทั่วโลกที่พบได้บ่อย และเป็นมากที่สุดอีกโรคหนึ่งและมีสถิติเพิ่มมากขึ้นทุกปี ปัจจุบันพบว่าอัตราส่วนของผู้ที่ไปพบแพทย์ 3 ใน 4 คน มีอาการปวดศีรษะไมเกรน จากข้อมูลดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ว่าปัจจุบันคนเรามีภาวะเสี่ยงต่ออาการปวดศีรษะมากขึ้น ทั้งนี้ก็ด้วยสังคมปัจจุบันที่ต้องเผชิญกับความวุ่นวายและดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด สาเหตุของโรคไมเกรน ในทางการแพทย์ระบุไว้ว่าเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่ากลไกของการเกิดโรคนี้เกิดจากภาวะที่สมองหลั่งสารที่ทำให้เส้นเลือดขยายตัว ทำให้ปลายประสาทที่ผนังหลอดเลือดถูกกระตุ้น จึงทำให้รู้สึกปวดส่วนในทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อพบว่า ผู้ป่วยไมเกรนจะมีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นคอ ท้ายทอย กกหู บ่า รวมถึงกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ สะบัก ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะตามแนวกระดูกคอ และกกหู ตลอดแนวของท้ายทอย และที่สำคัญยังเป็นกล้ามเนื้อที่เป็นทางผ่านของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ดังนั้น หากกล้ามเนื้อบริเวณนี้มีอาการเกร็งจะทำให้จำกัดการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เมื่อเลือดไหลเวียนได้น้อยลงจึงทำให้เกิดอาการปวด และจะปวดมากขึ้นเมื่อมีภาวะที่ต้องเครียด หรือต้องใช้งานมัดกล้ามเนื้อเหล่านี้ต่อเนื่อง เป็นเวลานาน เมื่อมีภาวะเครียด เช่น โกรธ ตื่นเต้น ตกใจ ฯลฯ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่งเรียกว่า Adrenaline เพิ่มขึ้น ผลก็คือจะยับยั้งการส่งข้อมูลของเซลล์สมอง ทำให้คิดอะไรไม่ออก และกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ คือหลอดเลือดในร่างกายหดเกร็ง ทำให้หัวใจเต้นถี่และเร็ว ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนสู่อวัยวะต่างๆ ก็ลดลงด้วย…