โครงสร้างร่างกายมีผลต่อประจำเดือน

ในหนึ่งเดือนของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ จะมีช่วงที่ร่างกายและจิตใจเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก นั่นคือ ช่วงที่มีประจำเดือน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายมากพอสมควร เพราะภูมิต้านทานต่ำมากกว่าปกติ ระบบข้อต่อ กระดูก กล้ามเนื้อมีการคลายตัวมากเกินไป ทำให้ข้อต่อกล้ามเนื้อหลวม ซึ่งหากแข็งแรงไม่พอจะทำให้ร่างกาย ไม่สามารถต้านอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อมีภาวะนี้ คุณเพ็ญพิชชากร แสนคำ นักกายภาพบำบัด สถาบันปรับโครงสร้างร่างกายอริยะ กล่าาวว่า ในช่วงมีประจำเดือนระบบกระดูกกล้ามเนื้อของอุ้งเชิงกราน หน้าท้อง ขา แข็งแรงหรือมีความทนทานไม่มากพอ จะถูกยืดยาวออก หลวมตัวมากไป ทั้งข้อต่อและกล้ามเนื้อ ไม่เพียงพอที่จะพยุงร่างกายให้ต้านกับแรงโน้มถ่วง หรือไม่ทนทานต่อการใช้กล้ามเนื้อในการทำกิจวัตรประจำวันในช่วงนั้นของเดือนได้ เมื่อเจอภาวะเช่นนี้ร่างกายจะมีกลไกบอกความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นั่นคือ อาการเจ็บปวดต่างๆ ซึ่งแตกต่างกันออกไปแล้วแต่สภาวะแต่ละส่วนของร่างกาย ความไม่ทนทานหรือความไม่แข็งแรงของกระดูกกล้ามเนื้อนี้ จัดได้ว่าเป็นส่วนของโครงสร้างร่างกายที่ไม่สมดุลด้วย ระบบกระดูกกล้ามเนื้อคือระบบโครงสร้างร่างกาย มีความสำคัญเสมือนเสาหลักของร่างกาย เป็นศูนย์รวมของเส้นประสาท ระบบหลอดเลือด ระบบน้ำเหลือง เหล่านี้เป็นส่วนที่ประกอบขึ้นมาให้ร่างกายอยู่ได้ หลังช่วงล่างเป็นทางออกของรากประสาท ที่มาควบคุมอวัยวะภายในช่องท้องทั้งหมด รวมถึงมดลูกด้วย ฉะนั้นหากกล้ามเนื้อหน้าท้อง อุ้งเชิงกราน สะโพกและขาไม่แข็งแรงพอ ทั้งจากการไม่ได้ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกาย ไม่ถูกต้อง หรือเกิดจากการสะสมของไขมันมากเกินไป จะส่งผลให้หลังแอ่นและมีผลให้การควบคุมการ ทำงานของอวัยวะในช่องท้องลดลง การดูแลเบื้องต้น นักกายภาพบำบัดแนะนำว่า 1.…