ปวดหลังจากหมอนรองกระดูกเสื่อม สาเหตุ อาการ ทำไมจึงอันตราย
ปวดหลังจากหมอนรองกระดูกเสื่อม Spondylosis สาเหตุเกิดจากอะไร แน่นอนว่าสำหรับอาการ กระดูกเสื่อม ถ้าไม่แก่ก็ไม่จำเป็นต้องกลัว จริงหรือไม่? คนเรามีกระดูกเสื่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องเป็นอยู่แล้วจริงหรือ? ถ้าอย่างนั้นแก่แล้วก็ต้องเสื่อมทุกคนใช่หรือไม่? แล้วทำไมเด็กอายุเพียง 20 ต้นๆ ยังไม่แก่ แต่ตรวจพบว่ามีหมอนรองกระดูกเสื่อม? แล้วคนแก่บางคนทำไมไม่เห็นมีกระดูกเสื่อมล่ะ? ความจริงเป็นอย่างไร? ท่านเคยสงสัยหรือไม่? ปวดหลังจากหมอนรองกระดูกเสื่อม (Spondylosis) สาเหตุ กระดูกเสื่อม เป็นคำเรียกติดปากที่หลายคนมักเข้าใจว่าตัวกระดูกเองเสื่อม แต่คำว่ากระดูกเสื่อมนั้น แท้จริงแล้ว ความเสื่อมเกิดขึ้นที่หมอนรองกระดูก ซึ่งเป็นส่วนที่ขั้นกลางระหว่างกระดูกแต่ละข้อ ทุกคนจึงเข้าใจว่าความเสื่อมเกิดขึ้นที่กระดูกนั่นเอง หมอนรองกระดูกที่กล่าวถึงนี้เปรียบได้กับโช็คอัพรถ เป็นตัวที่ช่วยลดแรงกระแทก แรงกดอัดเข้าในข้อต่อกระดูกหลัง พฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกนี่แหละทำให้เกิดแรงอัดเข้าไปในข้อ ซึ่งหมอนรองกระดูกมีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำ ลักษณะคล้ายๆ เยลลี่ เมื่อมีแรงกดเข้าไปจึงเกิดการปลิ้นออกมา เมื่อถูกกด ถูกอัด ถูกกระแทกบ่อยๆ ก็จะเริ่มเสื่อมไปเรื่อยๆ ตามอายุ และการใช้งานของร่างกาย สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ หมอนรองกระดูก ที่ขั้นกระดูกแต่ละปล้องนั้น มีหน้าที่พยุงหรืออุ้มกระดูกไว้เพื่อให้เปิดช่อง ที่เป็นทางออกของเส้นประสาท หากหมอนรองกระดูกเสื่อมแคบลง ก็ทำให้เส้นประสาทถูกกดเบียด เส้นประสาทของคนเราก็เสมือนสายยางน้ำขนาดใหญ่ที่ส่งน้ำไปเลี้ยงต้นไม้ ซึ่งต้องนำน้ำจากแหล่งใหญ่คือจากก๊อกน้ำผ่านสายยางไป เส้นประสาทคนเราก็ต้องนำกระแสประสาทไปสู่ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว การยืน การเดินของร่างกาย…