หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกเคลื่อนทับเส้น

คมชัดลึกครั้งที่ 5 ปวดหลังจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

อาการปวดหลังเป็นอีกเสียงเตือนที่บอกเราว่าน่าจะมีบางสิ่งที่ผิดปกติเกิดขึ้น มาฟังกันค่ะว่าปวดหลังเป็นปัญหาใหญ่แค่ไหน

ปรับโครงสร้างร่างกายต้านภัย “หมอนรองกระดูก”

ตอนที่2 โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มนุษย์ถือเป็นสิ่งวิเศษที่ถูกสร้างขึ้นมา และร่างกายของมนุษย์ก็เป็นสิ่งมหัศจรรย์มากเช่นเดียวกัน ร่างกายประกอบไปด้วยเซลล์ที่รวมตัวกันเป็นอวัยวะ และหลายๆ อวัยวะก็รวมกันเป็นหนึ่งร่างกาย กลไกการทำงานของร่างกายเป็นกลไกที่น่าทึ่งมาก สามารถทำงานประสานกันได้อย่างลงตัว ทั้งกลไกการรับรู้และการตอบสนอง การทำงานของแต่ละหน่วยเซลล์ที่เชื่อมต่อโยงใยกันด้วยระบบประสาทอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ต้องควบคุมเลย ไม่ว่าจะในเวลาหลับหรือตื่นร่างกายก็ทำงานอยู่ตลอดเวลา และร่างกายก็เป็นสิ่งหนึ่งของโลกใบนี้ที่ต้องเสื่อมลงตามกาลเวลา แต่ร่างกายของคนในยุคปัจจุบันมักเสื่อมก่อนเวลาอันควร เนื่องจากสภาวะของคนในยุคนี้มีการแข่งขันสูง ความต้องการในวัตถุนิยมที่มาพร้อมกับความเครียดทางจิตใจ ทำให้ร่างกายถูกใช้งานหนัก มากกว่ากำลังที่มี ร่างกายพยายามร้องบอกให้เรารู้ด้วยการส่งสัญญานต่างๆ แต่เราก็ไม่เคยได้ยินเสียงของร่างกายเราเลย อวัยวะที่ร่างกายต้องใช้งานหนักก็คือ กระดูกสันหลัง ซึ่งถือเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะกระดูกสันหลังเป็นตัวป้องกันไขสันหลัง เป็นทางออกของเส้นประสาท ที่มาจากสมองเพื่อนำเอาคำสั่งต่างๆ ไปควบคุมการทำงานของอวัยวะทุกระบบในร่างกาย เพราะฉะนั้นหากเกิดอะไรขึ้นกับกระดูกสันหลังแปลว่าสิ่งที่จะกระทบเป็นอันดับแรกก็คือ เส้นประสาท และเมื่อเส้นประสาทเส้นนั้นมีปัญหาก็ส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของอวัยวะนั้นๆ ดังนั้นจึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่งยวดที่เราต้องดูแลกระดูกสันหลังให้อยู่ในแนวความโค้งที่เหมาะสม กล้ามเนื้อต่างๆที่มาขึงอยู่โดยรอบกระดูกก็ต้องสมดุลและแข็งแรง หรือจะเรียกว่า “การปรับโครงสร้างร่างกายให้สมดุล” จึงจะสามารถทำให้อวัยวะต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นโรคหนึ่งซึ่งต้นเหตุมาจากระบบกระดูกกล้ามเนื้อไม่อยู่ในสภาพที่สมดุลและแข็งแรงเพียงพอ จึงทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมา กระดูกสันหลังของคนเรามีทั้งหมด 33 ข้อ วางเรียงต่อกัน แต่ละข้อจะมีหมอนรองกระดูกคั่นอยู่ การคั่นของหมอนรองกระดูกจะทำให้เกิดช่อง ซึ่งเป็นทางออกของเส้นประสาทที่จะนำเอาคำสั่งต่างๆ ไปควบคุมการทำงานของอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย ข้างๆกระดูกสันหลังจะมีกล้ามเนื้อชั้นลึกและมีเส้นเอ็นที่ขนาบอยู่ตลอดแนวของกระดูกสันหลัง หากกล้ามเนื้อ-เส้นเอ็นไม่แข็งแรง จะทำให้แนวกระดูกสันหลังผิดรูป บวกกับการอยู่ในท่าทางต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง เป็นท่าที่ทำให้เกิดแรงอัดที่แนวกระดูกสันหลังมากเกินกว่าที่กล้ามเนื้อ-เส้นเอ็นจะควบคุมไว้ได้ ก็จะทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อน ปัจจัยที่มีผลมาก…

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกเคลื่อนทับเส้น

เตือนภัย หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกเคลื่อน ดูอาการและการป้องกัน (ตอนที่ 21)

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกเคลื่อนทับเส้น เตือนภัย สัญญาณอันตรายจากร่างกาย เมื่อคุณพบว่าตัวเองมีอาการปวดหลัง บั้นเอว ปวดร้าวลงไปโดยไม่ทราบสาเหตุ มันอาจเป็นสัญญาณอันตรายยิ่งกว่าที่คุณคิด หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คืออะไร สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน ฉบับนี้มีเรื่องมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับกรณีศึกษาท่านหนึ่งที่มาพบผู้เขียนค่ะ ผู้เขียนเมื่อได้ฟังคำบอกเล่าของเคสนี้แล้วก็รู้สึกตกใจเพราะเพิ่งได้รับคำบอกเล่าเช่นนี้เป็นเคสที่สองติดๆกัน เลยย้อนกลับไปคิดว่าคงมีอีกหลายรายที่อาจประสบปัญหาเหมือนสองท่านนี้ แล้วในที่สุดก็ต้องตัดสินใจเลือกแนวทางการรักษาในแบบที่ตนเองไม่ค่อยอยากทำนัก เพราะไม่รู้ว่ามีทางเลือกอื่น แต่โชคดีของรายนี้ค่ะที่ญาติเคยมีอาการเหมือนกัน และได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ให้เข้ารับการผ่าตัด แต่หลังจากผ่าตัด อาการที่ เป็นนั้นดีขึ้นอยู่ได้ประมาณ 3-4 เดือนก็กลับมามีอาการเหมือนเดิมอีก ต้องเรียนท่านผู้อ่านนะคะว่าไม่ใช่ทุกรายที่เลือกการผ่าตัดแล้วอาการ จะกลับมาปวดเหมือนเดิม บางรายก็อาการดีขึ้น ทั้งนี้เพราะมีหลายปัจจัยที่อาจทำให้อาการดีขึ้นหรือไม่ก็ได้ และที่สำคัญขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเคสด้วยค่ะว่าจะเลือกดูแลรักษาตัวเองด้วยวิธีใด เคสนี้มีเพื่อนที่มีอาการเหมือนกัน เลือกรักษาด้วยแนวทางธรรมชาติบำบัด ไม่เลือกการผ่าตัด ไม่ชอบทานยา ซึ่งเพื่อนของเคสท่านนี้เป็นคนไข้ของสถาบันอริยะค่ะ ท่านเลือกดูแลด้วยการปรับโครงสร้างร่างกาย จนอาการดีขึ้นตามลำดับ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้โดยไม่มีความเจ็บปวดกลับมารบกวนอีกเลย การได้เห็นตัวอย่างจากญาติที่เป็นเหมือนตน ทำให้ทั้งสองเคสนี้ เลือกมาปรึกษาผู้เขียน และเมื่อได้ฟังจากประวัติของเคสแล้ว ผู้เขียนจึงอยากบอกต่อให้ท่านได้รับทราบ เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อท่าน และผู้ที่ท่านรู้จัก หรือผู้ที่กำลังมีอาการอยู่ค่ะ เคสนี้มาด้วยอาการปวดและเสียวที่หลังช่วงบั้นเอว ปวดแบบแปล๊บๆ ทุกครั้งที่มีการขยับตัวเปลี่ยนท่า และที่รุนแรงกว่านั้นคือ ทุกครั้งที่มีการลุกขึ้นยืนจะรู้สึกปวดร้าวไปตามด้านหลังเยื้องไปด้านข้างขาตลอดแนวจนถึงปลายเท้า ร่วมกับมีอาการชาด้วยค่ะ อาการดังกล่าวมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อต้องเดินหรือยืนต่อเนื่องเพียงแค่ 5 – 10…