ปวดหลังจากหมอนรองกระดูกเสื่อม Spondylosis สาเหตุเกิดจากอะไร แน่นอนว่าสำหรับอาการ กระดูกเสื่อม ถ้าไม่แก่ก็ไม่จำเป็นต้องกลัว จริงหรือไม่? คนเรามีกระดูกเสื่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องเป็นอยู่แล้วจริงหรือ? ถ้าอย่างนั้นแก่แล้วก็ต้องเสื่อมทุกคนใช่หรือไม่?
แล้วทำไมเด็กอายุเพียง 20 ต้นๆ ยังไม่แก่ แต่ตรวจพบว่ามีหมอนรองกระดูกเสื่อม? แล้วคนแก่บางคนทำไมไม่เห็นมีกระดูกเสื่อมล่ะ? ความจริงเป็นอย่างไร? ท่านเคยสงสัยหรือไม่?
ปวดหลังจากหมอนรองกระดูกเสื่อม (Spondylosis) สาเหตุ
กระดูกเสื่อม เป็นคำเรียกติดปากที่หลายคนมักเข้าใจว่าตัวกระดูกเองเสื่อม แต่คำว่ากระดูกเสื่อมนั้น แท้จริงแล้ว ความเสื่อมเกิดขึ้นที่หมอนรองกระดูก ซึ่งเป็นส่วนที่ขั้นกลางระหว่างกระดูกแต่ละข้อ ทุกคนจึงเข้าใจว่าความเสื่อมเกิดขึ้นที่กระดูกนั่นเอง หมอนรองกระดูกที่กล่าวถึงนี้เปรียบได้กับโช็คอัพรถ เป็นตัวที่ช่วยลดแรงกระแทก แรงกดอัดเข้าในข้อต่อกระดูกหลัง พฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกนี่แหละทำให้เกิดแรงอัดเข้าไปในข้อ ซึ่งหมอนรองกระดูกมีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำ ลักษณะคล้ายๆ เยลลี่ เมื่อมีแรงกดเข้าไปจึงเกิดการปลิ้นออกมา เมื่อถูกกด ถูกอัด ถูกกระแทกบ่อยๆ ก็จะเริ่มเสื่อมไปเรื่อยๆ ตามอายุ และการใช้งานของร่างกาย
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ หมอนรองกระดูก ที่ขั้นกระดูกแต่ละปล้องนั้น มีหน้าที่พยุงหรืออุ้มกระดูกไว้เพื่อให้เปิดช่อง ที่เป็นทางออกของเส้นประสาท หากหมอนรองกระดูกเสื่อมแคบลง ก็ทำให้เส้นประสาทถูกกดเบียด เส้นประสาทของคนเราก็เสมือนสายยางน้ำขนาดใหญ่ที่ส่งน้ำไปเลี้ยงต้นไม้ ซึ่งต้องนำน้ำจากแหล่งใหญ่คือจากก๊อกน้ำผ่านสายยางไป เส้นประสาทคนเราก็ต้องนำกระแสประสาทไปสู่ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว การยืน การเดินของร่างกาย ก๊อกน้ำของเส้นประสาทก็คือไขสันหลังและสมอง ที่เป็นแหล่งควบคุมใหญ่ เมื่อสายยางน้ำถูกกดเบียดด้วยก้อนหินหรือมีสิ่งใดไปทับเอาไว้ การไหลของน้ำก็ไหลเอื่อยลง ไม่ใช่น้ำไม่ไหล แต่น้ำไหลช้าและเบาลง ร่างกายคนเราก็เช่นเดียวกัน จากกพฤติกรรม จากการใช้ร่างกายที่ผิด ทำให้หมอนรองกระดูกแคบและเสื่อมลง จึงทำให้การไหลเวียนของเส้นประสาทไหลได้น้อยลง กล้ามเนื้อข้อต่อทำงานได้ลดลง นานเข้าก็เจ็บปวด อ่อนแรง ไม่มีแรง จนถึงเดินไม่ไหว เมื่อถึงตอนนั้น ก็ยากที่จะรักษาให้กลับมาเหมือนเดิม แต่หากเริ่มมีจากอาการปวดเล็กๆ น้อยๆ จนถึงปวดเรื้อรังก็ไม่ควรปล่อยไว้ ควรรีบจัดการอาการที่เป็นอยู่ทันที เพราะนอกจากจะรักษาได้ง่ายแล้ว ยังมีโอกาสต่อการกลับเป็นปกติได้ในเวลาอันรวดเร็ว
อาการของหมอนรองกระดูกเสื่อม
1. เริ่มแรกมักจะมีอากรปวดเมื่อยธรรมดาๆ ทั่วไป แต่หากปวดเมื่อยนั้นรู้สึกเป็นมากขึ้น บ่อยขึ้นต้องเริ่มหาทางแก้ไข
2. จากปวดกล้ามเนื้อธรรมดา เริ่มจะปวดล้าๆ เมื่อยๆ อยู่ลึกๆ และล้าไปตามแขน หรือขา
3. จากอาการปวดสักระยะ ก็จะเริ่มอ่อนแรง เหมือนแขนจะยกไม่ขึ้น ขาล้าๆ เหมือนเขาจะทรุด ยิ่งเดินมากก็ยิ่งปวดมาก ต้องหาที่นั่งพัก
4. นั่งหรือนอนพักอาการจะดีขึ้น แต่เมื่อต้องเดินหรือยืนอาการก็จะกลับมาอีก
5. หากปล่อยไว้เรื้อรัง จากที่นั่งพักแล้วสบาย ก็จะเริ่มยืน เดิน หรือนั่งนานก็จะปวดทุกอิริยาบถ
6. สุดท้าย เดินไม่ไหว ยกแขนไม่ขึ้น ต้องผ่าตัด
คำถามของคนที่เป็นคือ หากเป็นโรคนี้แล้ว ต้องผ่าตัดเท่านั้นหรือ ถ้าไม่อยากผ่าตัดต้องทำอย่างไร
อะไรที่ว่าเสื่อมแล้วก็คงแก้ไม่ได้จริงๆ แต่การสร้างกล้ามเนื้อเพื่อพยุงกระดูกไว้ ไม่ให้กระดูกถูกกดอัดด้วยแรงจากน้ำหนักตัว จากพฤติกรรมต่างๆ เป็นทางที่ทำได้ และเห็นผลชัดเจน หากแต่ต้องปรับแนวกระดูก ปรับข้อต่อและปรับกล้ามเนื้อไปพร้อมๆ กันซึ่งกระบวนที่กล่าวนี้คือ การปรับโครงสร้างร่างกาย เป็นการรักษาทางกายภาพบำบัดเฉพาะทางระบบกระดูก-กล้ามเนื้อของสถาบันอริยะ ที่ต้องวิเคราะห์และรักษาทุกส่วนในร่างกายที่เป็นเหตุทำให้เกิดความเสื่อม ก่อนจะสร้างมัดกล้ามเนื้อ เราต้องเตรียมความพร้อมด้วยการใช้เทคนิคเฉพาะที่ทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อคลายตัว ฝึกออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดลึกที่จะพยุงให้กระดูกเข้าที่ การสร้างกล้ามเนื้อเปรียบเสมือนการขึงเชือกไว้ให้มั่นคง ไม่ให้กระดูกอัดกันนั่นเอง กระบวนการปรับโครงสร้างร่างกาย ทำเพื่อปรับร่างกายให้เข้าสู่สมดุล นี่คือวิธี ที่จะรักษาโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ทั้งนี้จะหายขาด? ก็อยู่ที่ปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความรุนแรงของโรค การตอบสนอง ต่อการรักษาในครั้งแรก ความเสื่อมที่เกิดขึ้นแล้วมากน้อยเพียงใด การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ การค่อยๆเรียนรู้พฤติกรรมที่ถูกต้องและปฏิบัติไปเรื่อยๆ เพื่อให้ร่างกายได้เรียนรู้ท่าทางที่ถูกต้อง จึงจะสามารถแก้ปัญหาของโรคนี้ได้อย่างถาวรค่ะ
หากสนใจบริการของเรา สามารถคลิกได้ที่ ariyawellness.com/services/
ช่องทางติดต่อ Inbox ทางเพจ Facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/ariyawellnesscenter